การศึกษาปัจจัยด้านความผูกพันทางสังคมและการคบหาสมาคมที่แตกต่างที่มีผลต่อการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช

พิริยา เชียรวิชัย

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยความผูกพันทางสังคมและการคบหาสมาคมที่แตกต่างกันที่มีอิทธิพลต่อจำนวนครั้งในการเสพยาเสพติดต่อสัปดาห์ โดยศึกษาในกลุ่มผู้ต้องขังที่กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จำนวน 500 คน ในเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช และวิเคราะห์ข้อมูลในสถิติการแจกแจงค่าความถี่ ค่าอัตราส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าความแปรปรวนของคะแนนเฉลี่ยแต่ละข้อ (Analysis of Variance: ANOVA) และการวิเคราะห์จำแนกพหุ (Multiple Classification Analysis: MCA)

ผลการวิจัยพบว่า ในเรื่องของปัจจัยความผูกพันทางสังคม โดยที่ผู้ต้องขังที่กระทำผิดมีความผูกพันกับครอบครัวในระดับน้อย ครอบครัวไม่ให้การสนับสนุนและส่งเสริมในสิ่งที่ทำอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหน้าที่การงาน กิจกรรมส่วนตัว และกิจกรรมทางสังคมต่างๆ รวมถึงการที่บุคคลในครอบครัวไม่อยู่รับฟังปัญหาต่างๆ หรือไม่เป็นที่ปรึกษาและให้ความช่วยเหลือเมื่อเดือดร้อน รวมถึงความเชื่อทางสังคม ทั้งในเรื่องศาสนาโดยเฉพาะเรื่องบาปบุญคุณโทษ กรรมดีกรรมชั่ว เรื่องนรกสวรรค์ และความเชื่อทางกฎหมายในเรื่องที่มนุษย์ทุกคนมีศีลธรรมและต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด และมีความเกรงกลัวต่อบทลงโทษทางกฎหมาย เมื่อความผูกพันและความเชื่อทางศาสนา ทางกฎหมายมีในระดับน้อย ส่งผลให้มีการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดมาก และในเรื่องของปัจจัยการคบหาสมาคมที่แตกต่าง โดยที่ผู้ต้องขังที่คบเพื่อนสนิทที่ติดยาเสพติดเป็นจำนวนมาก เป็นกลุ่ม เป็นแก๊งค์ ส่งผลให้มีการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดมาก ซึ่งมีอิทธิพลต่อความถี่ในการเสพยาเสพติดต่อสัปดาห์ของผู้ต้องขัง โดยคิดเป็นร้อยละ 38.6 (Multiple R=.386) และสามารถที่จะร่วมกันอธิบายการกระทำผิดของผู้ต้องขัง โดยคิดเป็นร้อยละ 14.9 (Multiple R Squared=.149)

คำสำคัญ: ความผูกพันทางสังคม, การคบหาสมาคมที่แตกต่าง, การเสพยาเสพติด, ความถี่ในการเสพยาเสพติด, การกระทำผิดของผู้ต้องขัง

 

The purpose of was to to study factors of social bond and differential association influencing the frequency of drug usage over a week, among 500 narcotic offenses prisoners in the Nakhonsithammarat Central Prison. frequencies, percentages, means, standard deviations, ANOVA (analysis of variance) and MCA (Multiple Classification Analysis) were the statistical applications for the analysis.

Results revealed that the factors of social bond were at their lowest when the prisoners had a low level of bonding with their family; their family did not support what they had done regardless of their jobs, private affairs, or social activities; their family members did not come to hear their problems, declined to be their advisors, or refused to help them during their difficulties. This included their religious belief, especially their sin, virtues and punishment; good deeds and bad deeds, and heaven and hell. Also, it was the belief in jurisprudence that all human beings were moral, but they had to strictly follow the laws and fear sentences. When their social bond, their religious belief, and their belief in the law was a low level, they committed their narcotic offenses more. The prisoners, in the matter of differential association, associated with many addictive friends, in groups and in gangs, and when they did they committed their narcotic offenses more. It influenced their frequency of drug use per week at 38.6% (Multiple R=.386), and co-explained their offenses at 14.9% (Multiple R square=.149).

Keywords: social bond, differential association, drug uses, frequency of drug uses, offenses of prisoners


Full Text:

PDF

References


กองบัญชาการตำรวจปรามปรามยาเสพติด. (2535). คู่มือการปฏิบัติงานกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.

ชาญคณิต กฤตยา สุริยะมณี. (2554). ทฤษฎีอาชญาวิทยาร่วมสมัยกับการวิจัยทางด้านอาชญาวิทยาในปัจจุบัน. นนทบุรี: หยินหยางการพิมพ์.

ชาญคณิต กฤตยา สุริยะมณี, อุนิษา เลิศโตมรสกุล. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำผิดซํ้าคดียาเสพติด: กรณีศึกษาผู้กระทำผิดร้ายแรงและมีโทษสูงและต้องดูแลเป็นพิเศษ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2549). สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: จามจุรีโปรดักท์.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2538). การพัฒนาจริยธรรม. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

วุฒิ เหล่าสุนทร และคณะ. (2536). อาชญากรรม: การค้ายาเสพติด (ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ข้นตอนการค้ายาเสพติดของผู้ต้องขัง). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2555). จำนวนผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดถูกดำเนินการตากระบวนการยุติธรรมปีงบประมาณ 2554. สืบค้นจาก http://moc.oncb.go.th/new/index.php/2012-04-24-03-22-39/12-2555

Aliverdinia A., & Pridemore, W. A. (2007). A First glimpse at narcotics offenders in an Islamic Republic A test of an integrated model of drug involvement among a sample of men incarcerated for drug offenses in Iran. International Criminal Justice Review, 17, 27-44.

Frey, N., & George, R. (2010). Responsible tourism management: the missing link between business owners’ attitudes behaviour in the Cape Town tourism industry. Tourism Management, 31(5), 621-628.

Rebellon, C. J. (2012). Differential association and aubstance use: Assessing the roles of discriminant validity, socialization, and selection in traditional empirical tests. European Journal of Criminology, 9(1), 73-96.

Terrence, H., Burdette, A., Weiss, M., & Chitwood, D. (2009). Religious involvement and adolescent substance use. Adolescent substance abuse: Evidence-based approaches to prevention and treatment. New York: Springer.

Voorhis, P. V., Cullen, F. T., Mathers, R. A., & Garner, C. C. (1988). The impact of family structure and quality on delinquency: A comparative assessment of structural and functional factors. Criminology, 26(2), 235-261.




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2015.20

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus