ปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ของผู้ต้องขังในเรือนจำพิเศษธนบุรี: ศึกษาในแนวทางทฤษฎีความผูกพันทางสังคม ทฤษฎีการควบคุมตนเอง และทฤษฎีการคบหาสมาคมที่แตกต่างกัน

พระมหาสมชาย จำปาทอง

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาปัจจัยทางด้านความผูกพันทางสังคม ปัจจัยทางด้านการควบคุมตนเอง และปัจจัยการคบหาสมาคมที่แตกต่างกันที่มีผลต่อการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ของผู้ต้องขังในเรือนจำพิเศษธนบุรี 2) เสนอแนวทางในการป้องกันและแก้ไขการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ของผู้ต้องขังในเรือนจำพิเศษธนบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ต้องขังที่กระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ในเรือนจำพิเศษธนบุรี จำนวน 254 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าตํ่าสุด การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุ (Multiple Linear Regression) พบว่า ผู้ต้องขังฯ ส่วนใหญ่มีอายุโดยเฉลี่ย 31 ปี มีอายุโดยเฉลี่ยในขณะกระทำความผิด 30 ปี นับถือศาสนาพุทธ ได้รับการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษา มีอาชีพรับจ้างทั่วไป มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 19,030 บาท อยู่กับภรรยาโดยมิได้สมรสมีบุตรด้วยกันโดยเฉลี่ย 2 คน และพ่อแม่อยู่ด้วยกัน มีสภาพครอบครัวที่รักใคร่กลมเกลียวกันดี เมื่อทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยทางด้านความผูกพันทางสังคม โดยเฉพาะความผูกพันกับครอบครัว ปัจจัยทางด้านการควบคุมตนเองทั้ง 6 ด้าน ปัจจัยทางการคบหาสมาคมที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะด้านความถี่ในการคบหาสมาคมกับเพื่อนที่กระทำผิด มีผลต่อการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 และได้ข้อค้นพบจากการศึกษานี้ว่าปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ของผู้ต้องขังฯ มากที่สุด คือ ปัจจัยการคบหาสมาคมที่แตกต่างกัน รองลงมาคือปัจจัยการควบคุมตนเองและปัจจัยความผูกพันทางสังคมตามลำดับ และยังพบอีกว่าผู้ต้องขังฯ ที่มีอายุ มากขึ้นมีแนวโน้มในการกระทำผิดมากขึ้น ผู้ต้องขังฯ ชาวคริสต์มีการกระทำผิดมาก ผู้ต้องขังฯ ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพมีการกระทำผิดมาก และผู้ต้องขังฯ ที่มีสภาพครอบครัวทะเลาะเบาะแว้งกันมีการกระทำผิดมากเช่นกัน

คำสำคัญ: การกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์, ความผูกพันทางสังคม, การควบคุมตนเอง, การคบหาสมาคมที่แตกต่างกัน

 

The purposes of were 1) to study factors of social bond, self-control, and differential association affecting crimes against property of inmates in the Thonburi Remand prison and 2) to propose approaches in order to prevent and to correct crimes against property among inmates in special prison of Thonburi. 254 inmates convicted of crimes against property in the Thonburi Remand prison were the samples. The statistical applications were frequency, percentage, standard deviation, means, maximum values, minimum values, correlation analysis and multiple linear regression analysis. Most inmates were 31 years old, on average, while their average ages at the time of the offense was 30 years old. The majority was buddhist and educated at primary level. They earned their living by being general laborers with an average income of 19,030 baht per month. They cohabited with their wives without registering their marriage certificate as expanded families with two children on average and with their parents. They had warmly harmonized families. The test of hypotheses revealed that the factors of social bonds particularly the family bond, the factors of self-control in six areas, the factors of differential association, especially frequency of association, affected crimes against property with a statistical significance at α .05 level. It was further found that the factor most affected crime against property was the factors of differential association followed by the factors of self-control and the factors of social bond, respectively. It was also found that inmates with growing older ages tended to offend more. The Christian inmates, inmates without profession and inmates with quarrelling family members offended more, too.

Keywords: crime against property, social bond, self-control, differential association


Full Text:

PDF

References


กลุ่มงานพัฒนาระบบการพัฒนาพฤตินิสัย. (2552). ปัญหาการกระทำผิดซํ้า จากรั้วสถานพินิจสู่กำแพงเรือนจำ: ศึกษาเฉพาะกรณี ผู้ต้องขังวัยหนุ่ม. กรุงเทพมหานคร: สำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานราชทัณฑ์ กรมราชทัณฑ์.

จิตราภรณ์ จิตรธร. (2551). การกระทำผิดซํ้าของเด็กและเยาวชนในฐานความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ศึกษาเชิงทฤษฎีการควบคุมตนเอง การควบคุมทางสังคม และการคบหาสมาคมที่แตกต่าง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย. (2551). สังคมวิทยาอาชญากรรม. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จันทร์เพ็ญ อมรเลิศวิทย์. (2547). การควบคุมทางสังคม Social Control. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชาญคณิต กฤตยา สุริยะมณี. (2548). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ของเด็กและเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

ชาญคณิต กฤตยา สุริยะมณี. (2555). ทฤษฎีอาชญาวิทยาร่วมสมัยกับการวิจัยทางด้านอาชญาวิทยาในปัจจุบัน (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: หยินหยางการพิมพ์.

ชาญคณิต กฤตยา สุริยะมณี, และ อุนิษา เลิศโตมรสกุล. (2551). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกระทำผิดร้ายแรงทางเพศ กรณีการข่มขืนและการโทรมหญิงของเด็กและเยาวชนชายในบริบทของทฤษฎีเชิงบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม.

________. (2553ก). การกระทำผิดซํ้าของเด็กและเยาวชนในคดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ในประเทศไทย:แนวทางในการป้องกันและแก้ไขโดยอาศัยปัจจัยที่เป็นตัวทำนายทางด้านอาชญาวิทยา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม.

________. (2553ข). ปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำผิดซํ้าคดียาเสพติด: กรณีศึกษา ผู้กระทำผิดร้ายแรงและมีโทษสูงและต้องดูแลเป็นพิเศษ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม.

นวลจันทร์ ทัศนชัยกุล. (2548). อาชญากรรม การป้องกัน: การควบคุม (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: พรทิพย์การพิมพ์.

พรรณิภา บูรพาชีพ และคณะ. (2553). โครงการการสำรวจการกระทำผิดด้วยตนเอง (Self-report Crime Survey). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม.

พิมหทัย สังสุทธิ. (2555). ความแตกต่างระหว่างเพศชายและเพศหญิงกับการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์:ศึกษาในแนวทางของทฤษฎีความกดดันทั่วไป ทฤษฎีการควบคุมตนเองและทฤษฎีความผูกพันทางสังคม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

มนตรี บุญนาค. (2542). วิเคราะห์สาเหตุการกระทำผิดซํ้าในคดีเสพยาบ้า: ศึกษาเฉพาะกรณีผู้ต้องขังในทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง. วิทยานิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ 11. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ยุบลวรรณ ตั่นเธียรรัตน์. (2550). โมเดลเชิงสาเหตุการกระทำผิดของเยาวชน: การบูรณาการของ 3 ทฤษฎีทางสังคมวิทยาเพื่อการอธิบายการกระทำผิดของนักศึกษามหาวิทยาลัย ระดับปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ.

วรรณษิษฐ์ บำรุงราษฎร์. (2544). ปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ กรณีลักทรัพย์ของเด็กและเยาวชนหญิงในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2557). สถิติคดีอาญา. สืบค้นจาก http://pitc.police.go.th/dirlist/dirlist.php?dir=/crimes

เสกสิทธิ์ สวรรยาธิปัติ. (2554). การกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ยาเสพติดและชีวิตร่างกาย (คดีร้ายแรง) ของเด็กและเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล: การศึกษาวิจัยโดยใช้ทฤษฎีการควบคุมตนเอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

อุษณีย์ ทิพย์สุวรรณ. (2555). เทคนิคการแก้ตัวกับการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ของเด็กและเยาวชน: ศึกษาเฉพาะศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

Altheimer, I. (2010). An explanation analysis of guns and violent crime in a cross-nation sample of cities. Southwest Journal of Criminal Justice, 6(3), 204-227.

Baron, S. W. (2003). Self-control, social consequences, and criminal behavior: Street youth and the general theory of crime. Journal of Research in Crime and Delinquency, 40(4), 403-425.

Cheung, N. W. T., & Cheung, Y. W. (2008). Self-control, social factors and delinquency: A test of the general theory of crime among adolescents in Hong Kong. J Youth Adolescence, 37, 412-430.

Joseph, J. (1995). Juvenile delinquency among African Americans. Journal of Black Studies, 25(4), 475-491.

Ozbay, O. (2008). Strain, social bonding theories and delinquency. C.U. Sosyal Bilimler Dergisi, 32(1),1-6.

Silverman, J. R., & Caldwell, R. M. (2008). Peer relationship and violence among female juvenile an exploration of difference among four racial/ethnic populations. Criminal Justice and Behavior, 35(3), 333-343.

Wong, S. K. (2011). Reciprocal effect of family disruption and crime: A panel study of Canadian Municipalities. Western Criminology Review, 12(1), 43-63.




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2015.19

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus