การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้ด้านสุขภาพโดยใช้สื่อเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

โสภาพันธ์ สอาด

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการให้ความรู้ด้านสุขภาพโดยใช้สื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง สำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เพื่อเปรียบเทียบผลการใช้สื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง สำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังและศึกษาความคิดเห็นของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีต่อรูปแบบการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยใช้สื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง การดำเนินการทดลองใช้รูปแบบกึ่งทดลอง ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้ด้านสุขภาพ การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนและการรับรองรูปแบบการให้ความรู้ด้านสุขภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มารับบริการโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า สาขาวัดแคนอก (ศูนย์สุขภาพชุมชน) จังหวัดนนทบุรี จำนวน 30 คน เลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนและหลังการเรียนรู้สื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้ค่าที

รูปแบบการให้ความรู้ด้านสุขภาพโดยใช้สื่อเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1) ปัจจัยนำเข้า มี 9 องค์ประกอบ คือ 1.1) การวิเคราะห์ปัญหา 1.2) การกำหนดจุดมุ่งหมาย 1.3) การวิเคราะห์ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 1.4) การประเมินความรู้ผู้ป่วย 1.5) การวิเคราะห์เนื้อหา 1.6) การออกแบบและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ 1.7) การเตรียมผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 1.8) การเตรียมผู้สอน 1.9) การเตรียมสภาพแวดล้อม 2) กระบวนการให้ความรู้ ด้านสุขภาพโดยใช้สื่อเรียนรู้ด้วยตนเอง ประกอบด้วย 2.1) ขั้นเตรียม คือ ตรวจประเมินคัดกรอง ปฐมนิเทศผู้สอนด้านการใช้สื่อด้วยวีดิทัศน์ และปฐมนิเทศผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 2.2) ขั้นการทดลอง ประกอบด้วย 2.2.1) ทำแบบทดสอบก่อนการใช้สื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง 2.2.2) เรียนรู้ด้วยตนเอง 3) ปัจจัยนำออก คือ การประเมินผลการเรียนรู้ 4) ข้อมูลป้อนกลับ

ผลของการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนการเรียนสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองหลังการเรียนของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อยู่ในระดับดีมาก และมีคะแนนการเรียนสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองสูงกว่าก่อนการเรียน โดยอยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนและหลังการเรียนรู้สื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองผู้ป่วยโรคเรื้อรัง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ความคิดเห็นของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีต่อสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เมื่อพิจารณาโดยรวม ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบ ด้านการนำเสนอสื่อและด้านการนำไปใช้ประโยชน์ พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับดีมาก และผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการศึกษา จำนวน 5 ท่าน มีความเห็นว่ารูปแบบการให้ความรู้ด้านสุขภาพโดยใช้สื่อเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้กับผู้ป่วยได้

คำสำคัญ: รูปแบบการให้ความรู้ด้านสุขภาพ, สื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง, ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

 

The purposes of the research study were 1) to develop Model of Health Education Using by Self Directed Learning Media (SDLM) for chronic patients, 2) to study the effects of self directed learning media, 3) to investigate the opinion of Chronic patients towards the SDLM. Method used was research and develpomement. Samples were 30 chronic patients. Pair sample t-test was used to analyze the data. Model of Health Education comprised of 4 profiles 1) Input should be compound of 9 steps; 1.1) Problem Analysis, 1.2) Objectives identification, 1.3) Patients with chronic disease analysis, 1.4) Pretest, 1.5) Content analysis, 1.6) Content designing, 1.7) Patients preparation, 1.8) Instructors preparation, 1.9) Learning environment preparation. 2) Health education process was divided into 2 steps; 2.1) Preparation, including: screening, Orientation instructors of VDO CD training skill., Patients Orientation 2.2) Experimental process was also composed of 2 steps; 2.2.1) Pre-test 2.2.2) Self Directed 3) Learning evaluation and 4) feedback. 

The results showed that the mean scores of SDLM. after learning is good, The mean scores of SDLM. post-experiment was significantly higher than pre-experiment (p<.05). Skill practice of SDLM. score was performed at a very high level. Most Chronic patients viewed SDLM. concluding the content, design, presentation and useful. as “appropriate” in a very high level; whereas five experts evaluated that it was “appropriate” and “practical” for chronic patients.

Keyword: model of health education, self directed learning media, chronic patients


Full Text:

PDF

References


ชัยพร พรหมสิงห์. (2555). เฝ้าระวังสุขภาพตนเองด้วยการตรวจสุขภาพประจำปี. วารสารศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่น, 4(1), 1-2.

ธันยาภรณ์ โพธิ์ถาวร. (2549). ผลการใช้ความรู้ด้านสุขภาพต่อการปฏิบัติตัวด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหืด. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ปณภา ภิรมย์นาค. (2555). การใช้สื่อการสอนเชิงมัลติมีเดียเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา รายวิชา LSC303/LSM211 การจัดการขนส่ง สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน. กรุงเทพมหานคร: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

พัชรี พลาวงศ์. (2536). การเรียนด้วยตัวเอง. วารสารรามคำแหง, 9(ฉบับพิเศษ“พัฒนาบุคลากร”), 82-91.

มนต์ชัย เทียนทอง. (2545). การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์สำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพมหานคร: งานเอกสารการพิมพ์ กองบริการการศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

วิชัย เอกพลากร. (2553). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552. นนทบุรี: โรงพิมพ์บริษัทเดอะกราฟิโก ซิสเต็มส์ จำกัด.

สมคิด อิสระวัฒน์. (2543). การสอนผู้ใหญ่. กรุงเทพมหานคร: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

สมบูรณ์ ศาลยาชีวิน. (2546). จิตวิทยาเพื่อการศึกษาผู้ใหญ่ (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: ลานนาการพิมพ์.

สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์. (2551). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2550. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ทีคิวพี จำกัด.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2551). พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 2551. กระทรวงศึกษาธิการ.

สุณี เพชรศรี. (2557). นวดเท้าผู้ป่วยเบาหวานลดอาการชาเท้าได้. สืบค้นจาก http://www.manager.co.th/QOL/viewnews.aspx?NewsD=9570000030440

สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ. (2554). การสาธารณสุขไทย 2551-2553. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข.

อภิเชษฐ เพิ่มโสภา. (2546). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เรื่องกฎจราจรสำหรับผู้ทดสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตขับรถ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Knowles, M. (1975). Self-directed learning. Chicago: Follet.




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2015.18

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus