ผลของแนวทางปฏิบัติทางคลินิกในการจัดการความเจ็บปวดหลังผ่าตัด ในผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อสะโพกหัก
Abstract
วิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของแนวทางปฏิบัติทางคลีนิคในการจัดการความเจ็บปวดหลังผ่าตัดในผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อสะโพกหัก และเปรียบเทียบความเจ็บปวดและผลกระทบที่เกิดจากความเจ็บปวดต่อภาวะสุขภาพองค์รวม ก่อนและหลังการจัดการกับความเจ็บปวดตามแนวทางปฏิบัติทางคลีนิค กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุเพศหญิงที่มีภาวะข้อสะโพกหักและได้เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกหญิง โรงพยาบาลชลบุรี โดยการผ่าตัดทางศัลยกรรมกระดูกและมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 60 คน กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม (ได้รับการพยาบาลการจัดการความเจ็บปวดตามปกติ) และกลุ่มทดลอง (ได้รับการพยาบาลการจัดการความเจ็บปวดตามแนวทางปฏิบัติทางคลีนิค ซึ่งมุ่งเน้นการให้ข้อมูลตามแนวคิดทฤษฎี ควบคุมประตู (gate control theory) และการหายใจที่มีประสิทธิภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 1) แบบประเมินข้อมูลทั่วไป (ข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางคลีนิค) 2) แบบประเมินการจัดการความเจ็บปวดและระดับความเจ็บปวด และ 3) แบบประเมินผลกระทบจากความเจ็บปวดต่อภาวะสุขภาพองค์รวม แบบสัมภาษณ์การจัดการความเจ็บปวดและระดับความเจ็บปวด ผู้วิจัยดัดแปลงมาจากแบบประเมินการจัดการความเจ็บปวดของโรงพยาบาลชลบุรี และแบบสัมภาษณ์ผลกระทบจากความเจ็บปวดต่อภาวะสุขภาพแบบองค์รวมได้พัฒนามาจากการทบทวนวรรณกรรม เครื่องมือทั้ง 2 นี้ ได้ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดย 3 ผู้ทรงคุณวุฒิและมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของคอนบาร์ค 0.74 และ 0.71 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณาและทดสอบค่าที t-test
ผลการศึกษาพบว่า ระดับความเจ็บปวดของกลุ่มทดลองตํ่ากว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.001) สำหรับผลกระทบที่เกิดจากความเจ็บปวดต่อภาวะสุขภาพองค์รวม (ด้านร่างกาย จิตใจ สังคม จิตวิญญาณ ภายหลังการจัดการความเจ็บปวดกลุ่มทดลองตํ่ากว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P .010, .001, .003 และ .001 ตามลำดับ
คำสำคัญ: แนวทางปฏิบัติทางคลีนิค, การจัดการความเจ็บปวดหลังผ่าตัด, ข้อสะโพกหักในผู้สูงอายุ
This quasi-experimental study aimed to examine the effects of the Clinical Practice Guideline (CPG) for post-operative pain management in the elderly with hip fracture and comparing the impacts from pain to the holistic health status of these elderly before and after the post-operative pain management. The samples of this study were the elderly patients who had hip fracture and admitted to the female orthopedic ward, Chonburi hospital. In addition, these samples had to meet the inclusion criteria and were recruited by the purposive sampling. There were 60 samples who were divided into 2 groups (via the matched pairs technique): the control group (receiving pain management as normal routine) and the experimental group (receiving the post-operative pain management following the CPG developed on the gate control theory and effective breathing). The instruments of this study consisted of 3 parts: 1) General information and clinical information, 2) Pain management and severity of pain interview, and 3) Impact from pain to the holistic health status interview. The pain management and severity of pain interview was adaped from the assessment form of pain management of Chonburi hospital and developed the impacts from pain to the holistic health status interview based on literature reviews. Both instruments were tested for the content validity by three experts. Furthermore, they were tested for the reliability and their Conbach’s alpha coefficient values were 0.74 and 0.71 respectively. The data were analyzed by using descriptive statistics and t-test.
The finding of this study demonstrated that pain level of the experimental group was lower than that in the control group, statistically and significant at p<.001; and the impacts from pain to the holistic health status (physical, mental, social and spiritual) of the elderly in the experimental group were less than the control group, statistically and significant at p .010, .001, .003 and .001 respectively.
Keywords: Clinical practice guideline, Post operative pain management, Elderly with hip fracture
Full Text:
PDFReferences
จินตนา พรรณเนตร. (2556). ผลของแนวปฏิบัติทางคลินิกที่พัฒนา จากหลักฐานเชิงประจักษ์ในการจัดการความปวดหลัง ผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดทางศัลยกรรมกระดูก. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี, 38(3), 158-166.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: ยูแอนด์ไออินเตอร์มีเดีย.
ยุพิน ถนัดวณิชย์, และพรชัย จูลเมตต์. (2546). การเปลี่ยนผ่านในชีวิต ของผู้สูงอายุสตรีภายหลังที่มีภาวะข้อสะโพกหักขณะเข้ารับ การรักษาในโรงพยาบาล. วารสารการคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 11(2), 1-17.
วัชรี มุกด์ธนะอนันต์. (2555). การพัฒนารูปแบบการจัดการความปวด ในผู้ป่วยหลังผ่าตัด. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 27(2), 162-171.
วิภาพร ลีเลิศมงคลกุล, สุพร ดนัยดุษฎีกุล, วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์, และพัชรพล อุดมเกียรติ. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่าง ดัชนีมวลกาย ความเจ็บปวด และการสนับสนุนทางสังคม กับการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในระยะฟื้นตัว ในผู้ป่วยผ่าตัด เปลี่ยนข้อสะโพกเทียม. Journal of Nursing Science, 31(2), 26-37.
วิไลวรรณ ทองเจริญ, (บรรณาธิการ). (2554). ศาสตร์และศิลป์ การพยาบาลผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: โครงการตำรา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
สมถวิล ขุนแก้ว, และพิชญา ศรีเกลื่อนกิจ. (2550). ผลของการฝึก หายใจอย่างมีประสิทธิภาพต่อภาวะเครียดในขณะได้รับ การระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลัง ในผู้สูงอายุที่ได้รับ การเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี, 33(1), 133-138.
สมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย. (2554). แนวทาง พัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน. กรุงเทพมหานคร: บียอนด์ เอ็นเตอร์ไพรซ์.
สุนิดา อติชาติ. (2554). การระงับความเจ็บปวดเฉียบพลันสำหรับ พยาบาล. ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ของโรงพยาบาลชลบุรี ณ ห้องประชุมนายแพทย์สุจินต์ ผลากรกุล, 8 ธันวาคม.
สุรีพร แสงสุวรรณ, วรรณิภา อัศวชัยสุวิกรม, และพรนภา หอมสินธุ์. (2554). ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองด้วยข้อมูล ทางคลินิกต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารและระดับ นํ้าตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุม ระดับนํ้าตาลในเลือด. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 19(3), 54-64.
Bonica, J. J. (1990). The Management of Pain (2nd ed.). Pliladelphia: Lea and Febiger.
Lemeshow, S., Hosmer Jr, D. W., Klar, J., Lwanga, S. K. (1990). Adequacy of Sample Size in Health Studies. Chichester: John Wiley & Sons.
Puntillo, K. A., Stannad, D., Miaskowski, C., Kehrie, K., Gleeson, S. (2002). Use of a pain assessment and intervention (P.A.I.N.) tool in critical care nursing practice: Nurses’ evaluation. Heart Lung, 31(4), 303-14.
DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2015.1
Refbacks
- There are currently no refbacks.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus