แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตลาดบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม

ชายชาญ ปฐมกาญจนา, นรินทร์ สังข์รักษา

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตลาดบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม 2) เปรียบเทียบระดับแรงจูงใจในการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตลาดบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยว และ 3) ศึกษาแนวทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตลาดบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวตลาดบางหลวง 400 คน ผู้ให้ข้อมูลหลัก 14 คน เครื่องมือ ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับแรงจูงใจในการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในตลาดบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า แรงจูงใจอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน เรียงตามลำดับ ดังนี้ ด้านเดินทาง ด้านสิ่งดึงดูดใจในการท่องเที่ยว ด้านการบริการ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านประชาสัมพันธ์ ตามลำดับ
2. การเปรียบเทียบระดับแรงจูงใจในการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในตลาดบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า นักท่องเที่ยวที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และสถานภาพสมรส แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนนักท่องเที่ยวที่มีภูมิลำเนาแตกต่างกันมีระดับแรงจูงใจการท่องเที่ยวตลาดบางหลวงไม่แตกต่างกัน
3. แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตลาดบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม พบว่า ควรมีการพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับการท่องเที่ยวที่มีจิตอาสาในการพัฒนาการท่องเที่ยวในชุมชน ด้านการเงินหรืองบประมาณ ควรมีการส่งเสริมสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลหรือท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนงบประมาณในจำนวนที่มากพอ ควรมีการรวมกลุ่มกันในการให้ความช่วยเหลือ ประสานงาน และให้ข้อมูลซึ่งกันและกัน เพื่อเป็นเครือข่าย

คำสำคัญ: การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, ตลาดบางหลวง

 

The purposes of the research were: 1) to study levels of motivation to travel cultural capital markets at Bangluang, Nakhon Pathom, 2) to compare the incentives for tourist’s cultural capital markets at Bangluang, Nakhon Pathom by legal status of individual and 3) to study on the promotion of cultural tourism with community participation capital markets at Bangluang, Nakhon Pathom. The sample were 400 Thailand tourists that visited the capital market, 14 people were interviewed. Informants including questionnaires and interviews. The statistics used were frequency, percentage, mean and standard deviation, t-test, ANOVA and content Analysis

The resulte were:
1. Level incentives in the tourism market of tourists visit the royal Bangluang, Nakhon Pathom, overall, are moderate and considering it was found that the motivation is moderate on all sides. Sorted by following; travel, in tourism attractions, service, facilities and public relations.
2. Compare the level of incentive travel traveling tourism market Bangluang, Nakhon Pathom by personal factors that tourists with sex, age, education, occupation, income and marital status have different incentives for different tourism markets Bangluang statistically significant at the .05 level at the tourists domiciled different level incentive travel market capital is no different.
3. Guidelines for the promotion of cultural tourism with community participation capital markets at Bangluang, Nakhon Pathom found that the people or person, need to be developed to tour with volunteers in tourism development in the community. Financial or budget should the promotion of Tambon Administration Organization or local and related agencies should support the budget in sufficient numbers, equipment or supplies. Language and communication awareness is an important tool to communicate with foreigners. Management Nakhon Pathom is the metropolitan province not far from Bangkok should be grouped together in helping coordinate and provide information to each other. To network and support each other and the promotion of tourism’s contribution to the community. The notification should include an opportunity for the community to play a role in the management of the market and encouraged to bring a product to sell in the local market.

Keywords: Cultural tourism, Community Bangluang

 


Full Text:

PDF

References


การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2556). รายงานการประชุมประจำปี 2556. กรุงเทพมหานคร: ประภาสการพิมพ์.

ชาชิวัฒน์ ศรีแก้ว. (2554). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. กรุงเทพมหานคร: สมานการพิมพ์.

จุฑามาศ คงสวัสดิ์. (2550). การศึกษาแนวทางการสงเสริมการทองเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม. นครปฐม: ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จันทร์สุดา ว่องทวีทรัพย์ดี. (2550). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อแหล่งท่องเที่ยว จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ดวงสมร ฟักสังข์. (2552). การสำรวจทุนทางสังคมและการจัดเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนในเขตเทศบาลตำบลศาลายา จังหวัดนครปฐม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

พจนา บุญคุ้ม. (2556). บทบาทของชุมชนในการเสริมสร้างอัตลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดนครปฐม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พชราวลี พิเสฎฐศลาศัย. (2552). พฤติกรรมและแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อตลาดนํ้าบางน้อย จังหวัดสมุทรสงคราม. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

พรทิพย์ กิจเจริญไพศาล. (2553). การศึกษาทรัพยากรท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนชาวมอญเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

วิคิเนีย มายอร์. (2554). แรงจูงใจการท่องเที่ยวและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวบ่อนํ้าร้อนรักษะวารินและบ่อนํ้าร้อนพรรั้ง จังหวัดระนอง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

สายทิพย์ บัวเผือก. (2550). พฤติกรรมและแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวไทยที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Best, J. W. (1981). Research in education. New Jersey: Prentice-Hall.

Krejcie, R. V., & Morgan D. W. (1970). Determining Sample Size of Research Activities. Psychological Measurement, 30, pp. 607-610.




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2015.2

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus