ความเครียดในการทำงานและความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ: กรณีศึกษา ครูโรงเรียนสตรียะลาและครูโรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา

สงวนลักษณ์ แซ่เง่า

Abstract


การศึกษาความเครียดในการทำงานและความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ กรณีศึกษา ข้าราชการครูโรงเรียนสตรียะลาและโรงเรียนคณะราษฎรบำรุงจังหวัดยะลา มีวัตถุประสงค์การศึกษา คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความเครียดในการทำงาน 2) เพื่อศึกษาระดับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดในการทำงานและความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ 4) เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความเครียดในการทำงานและความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยลักษณะกรณีศึกษา ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลจากข้าราชการครู กลุ่มตัวอย่างจำนวน 141 คน

ผลการศึกษาพบว่า
ความเครียดในการทำงานของข้าราชการครูอยู่ในระดับปานกลาง ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครูอยู่ในระดับมาก ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดในการทำงานและความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ พบว่า ความเครียดในการทำงานด้านลักษณะงาน ด้านบทบาทหน้าที่ในงาน ด้านความก้าวหน้าในอาชีพ และด้านแหล่งภายนอกองค์การ ไม่มีความสัมพันธ์กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านโครงสร้างและบรรยากาศองค์การมีความสัมพันธ์กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การในทิศทางตรงกันข้ามอยู่ในระดับตํ่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และด้านสัมพันธภาพในการทำงานมีความสัมพันธ์กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การอยู่ในทิศทางตรงกันข้ามอยู่ในระดับค่อนข้างตํ่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความเครียดในการทำงานและความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ พบว่า อายุเป็นเพียงปัจจัยเดียวที่มีผลต่อความเครียดและความผูกพันต่อองค์การที่แตกต่างกัน

คำสำคัญ: ความเครียดในการทำงาน, ความผูกพันต่อองค์การ, โรงเรียนสตรียะลา, โรงเรียนคณะราษฎรบำรุงยะลา

 

The objectives of this research were followed: 1) To study work stress level. 2) To study organization commitment level. 3) To study the relationship between work stress and organization commitment. 4) To study the difference of personal factors between work stress and organization commitment. This research was a case study and used questionnaire to collect data from 141 people in the sample groups.

The research was found that work stress of teacher was moderate; the organization commitment of teacher was high. The relationship between work stress and organization commitment was found that stress in job characters, working role, career progression and external organization did not have relation with organization commitment at statistically significant (p=.05). In organization structure and atmosphere had relation with organization commitment on a contrary way at statistically significant (p=.05). In working correlation had relation with organization commitment on a contrary way at statistically significant (p=.01). The different of personal factors between work stress and organization commitment was found that age was the one factor that had an impact on stress and different organization commitment.

Keywords: work stress, organizational commitment, Stree Yala School, Kanarasdornbumroong Yala School


Full Text:

PDF

References


จิตวิมล สัตยารังสรรค์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดในงานสัมพันธภาพกับผู้บังคับบัญชาความผูกพันต่อองค์การและความตั้งใจลาออกจากองค์การของพนักงานธนาคารพาณิชย์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จิระพร อุดมกิจ. (2539). ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดในการทำงานของบุคลากรคอมพิวเตอร์ ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ทิวาพร เพิลล์มันน์. (2554). การพัฒนาคุณภาพชีวิต. สืบค้นจาก http://www.stou.ac.th/study/sumrit/index.asp

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

นรินทร์ สังข์รักษา. (2552). การศึกษามโนภาพแห่งตนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 1(1), 16-21.

ปนัดดา ใจบุญ. (2553). ความเครียดในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานคุมประพฤติ กรมคุมประพฤติ ในเขตพื้นที่ภาคเหนือ. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รัตติพร พนพิเชษฐกุล. (2544). ความเครียดและคุณภาพชีวิตในการทำงาน. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรัญญา วงศ์ประสิทธิ์. (2540). การเสริมสร้างพลังอำนาจในงานความเครียดในบทบาทกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศรีสมร พิมพ์โพธิ์. (2546). ความผูกพันต่อองค์การของเจ้าหน้าที่ในสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ศรีสวัสดิ์ นนท์ประเสริฐ. (2541). ความเครียดในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศ ท่าอากาศยานกรุงเทพ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศิริกร อักษรดี. (2544). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคคลและปัจจัยด้านงานกับความเครียดของพนักงานต้อนรับภาคพื้นดิน บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่ทำงานประจำ ณ ท่าอากาศยานกรุงเทพ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุพรรณี ปันผสม. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน: กรณีศึกษา พนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ในเขตจังหวัดอุตรดิตถิ์ จังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดพิจิตร. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อรรณพ ถนอมวงษ์. (2539). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดและผลกระทบจากความเครียดที่มีต่อพนักงานบริษัทนํ้าอัดลม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อัมมาร สยามวาลา. (2555). แก้ปัญหาคุณภาพการศึกษาไทย: เราจะเริ่มที่ไหนดี. สืบค้นจาก http://prachatai.com/journal/2012/02/39135

Becker, H. S. (1960). Notes on the concept of commitment. The American Journal of Sociology, 66(1), 32-40.

Meyer, J. P., & Allen, N. J. (1997). Commitment in the workplace: theory research and application. Thousand Oaks: Sage Publications.




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2015.16

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus