ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบปรึกษาหารือกับการกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาเทศบาลนครหาดใหญ่

วิศรุตา ทองแกมแก้ว, เพ็ญนภา จันทร์แดง, บุณิกา จันทร์เกตุ

Abstract


เทศบาลนครหาดใหญ่ กำลังเตรียมความพร้อมการพัฒนาในรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อรองรับการขยายตัวของความเจริญในอนาคต ด้วยเหตุนี้ การนำวัฒนธรรมทางการเมืองแบบปรึกษาหารือมาใช้ต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ จึงเป็นประเด็นที่มีความน่าสนใจต่อการศึกษา เนื่องจากวัฒนธรรมทางการเมืองแบบปรึกษาหารือเป็นพฤติกรรมทางการเมืองอันแสดงให้เห็นถึงกระบวนการที่มีความต่อเนื่อง เปิดกว้าง รับฟังข้อคิดเห็นของทุกฝ่าย เพื่อให้ได้ข้อสรุปสอดคล้องตอบสนองความต้องการของส่วนรวมอย่างแท้จริง โดยในงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบปรึกษาหารือของประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบปรึกษาหารือกับกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาเทศบาลนครหาดใหญ่และเพื่อเสนอแนะแนวทางตามปัญหา สาเหตุของปัญหา วัฒนธรรมทางการเมืองแบบปรึกษาหารือต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาเทศบาลนครหาดใหญ่ได้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน คือ การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก และเชิงปริมาณสนับสนุน

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบปรึกษาหารือของเทศบาลนครหาดใหญ่ อยู่ในระดับปานกลาง ทั้งการตกลงร่วมกันด้วยเหตุผล การสามารถเข้าถึงได้ การตัดสินใจที่เป็นข้อผูกมัด และการสนทนาถกเถียงอย่างต่อเนื่อง ที่ยังไม่มีความครอบคลุมสำหรับประชาชน เนื่องจากเหตุผลของสภาพความเป็นชุมชนเมือง 2. วัฒนธรรมทางการเมืองแบบปรึกษาหารือกับการกำหนดนโยบายสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทิศทางเดียวกัน ในระดับค่อนข้างน้อยโดยส่วนใหญ่การดำเนินงานจะเป็นไปในลักษณะประธานชุมชนเป็นผู้ดำเนินการในฐานะตัวแทนของชุมชน เนื่องจากทางเทศบาลยังไม่มีผู้รับผิดชอบโดยตรงในการจัดการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย 3. ค้นพบประเด็นปัญหาออกเป็น 6 ประเด็นหลัก คือ 1) ปัญหาด้านการจราจร 2) ปัญหาด้านเศรษฐกิจ 3) ปัญหาอุทกภัย 4) ปัญหาด้านความมั่นคง 5) ปัญหาด้านโครงสร้างสาธารณูปโภค คุณภาพชีวิต สาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม และ 6) ปัญหาการตระหนักถึงวัฒนธรรมทางการเมืองแบบปรึกษาหารือของประชาชน

ข้อเสนอแนะแนวทางการสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบปรึกษาหารือของเทศบาลนครหาดใหญ่ ควรนำแนวคิดเกี่ยวกับเวทีเสวนาแบบเปิด (Open Forum) ต่อการจัดตั้งสมัชชาประชาชนนครหาดใหญ่ และการนำแนวคิดสามัคคีธรรมมาใช้ในการพัฒนาเมือง

คำสำคัญ: วัฒนธรรมทางการเมืองแบบปรึกษาหารือ, การกำหนดนโยบายสาธารณะ, เทศบาลนครหาดใหญ่

 

As Hatyai Municipality is going to prepare suitable development to support expansive progress in the future, it is interesting to study use of deliberative political culture to formulate public policy because deliberative political culture is political behavior which indicated continuous process which listened to opinions of all parties in order to get conclusion which responded to public need. This research aimed to 1) study the level of deliberative political culture of people in Hatyai Municipality, 2) study the relationship between deliberative political culture and public policy formulation to develop Hatyai Municipality, and 3) propose guidelines according to problems and causes of the problems of deliberative political culture and public policy formulation to develop Hatyai Municipality. The researcher mainly used qualitative research supported by quantitative research.

The research results found the following issues: 1. Deliberative political culture of Hatyai Municipality is at the moderate level on rationally joint agreement, accessability, obligated decision, and continuous discussion which did not include people due to state of being urban community. 2. Deliberative political culture significantly correlated with public policy formulation of Hatyai Municipality at the level of .05 in the same direction. A community leader acted as a community representative because the municipality did not assign anyone to be directly responsible for making people participate in formulating policy. 3. The researcher found six main problems consisting of 1) traffic problem 2) economic problem
3) flood problem 4) security problem 5) the problem of structure of utility, quality of life, public health and environment 6) the problem of people’s awareness of deliberative political culture.

As for recommendations on guidelines of creating deliberative political culture of Hatyai Municipality, Hatyai Municipality should use the concept of open forum to establish Hatyai People Assembly and use the concept of unity to develop the city.

Keywords: Deliberative political culture, public policy formulation, Hatyai Municipality


Full Text:

PDF

References


จรัส สุวรรณมาลา. (2550). วัฒนธรรมการเมืองท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 5(3), 83-106.

จิระศักดิ์ ส่งศรี, เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน, สัมภาษณ์, 31 มกราคม 2556.

จีรนาฏ สงวนทรัพย์. (2553). แนวทางการพัฒนาเมืองน่าอยู่ของเทศบาลตำบลบางตะบูน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี. รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เจตสกุล เพ็ชรสกุล, รองประธานสมาชิกสภาเทศบาลนครหาดใหญ่, สัมภาษณ์, 15 มกราคม 2556.

ชนิษฎา ชูสุข. (2553). รายงานวิจัย กลไกการขับเคลื่อนนโยบายเมืองน่าอยู่: กรณีศึกษาเทศบาลนครสงขลาและเทศบาลตำบลปริก จังหวัดสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ชาญณรงค์ พรหมขันธ์. (2547). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายสาธารณะ: กรณีศึกษา โครงการประตูระบายนํ้าแม่นํ้าท่าจีน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

เชฎฐชัย ศรีชุชาติ. (2541). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายสาธารณะ: กรณีศึกษา การจัดหาที่อยู่อาศัยใหม่ให้แก่ชาวชุมชนแออัดในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่. เชียงใหม่: สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทรงเกียรติ มุณีสิทธิ์, สมาชิกสภาเทศบาลนครหาดใหญ่ เขต 3, สัมภาษณ์, 14 มกราคม 2556.

เทศบาลนครหาดใหญ่, และสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2554). รูปแบบการบริหารมหานครหาดใหญ่ในอนาคต: มุมมองของคนหาดใหญ่. เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่อง รูปแบบการบริหารมหานครหาดใหญ่ในอนาคต ของ เทศบาลนครหาดใหญ่ ร่วมกับทีมวิจัยสาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 5 กรกฎาคม 2554.

ประจวบ จันทร์หมื่น. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมทางการเมืองกับบทบาทของประชาสังคมในระบบการเมืองท้องถิ่น: กรณีศึกษาตำบลเสียว อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ปิยพงษ์ บุษบงก์. (2552). การกำหนดนโยบายสาธารณะ: กระบวนทัศน์ แนวทาง ตัวแบบกรอบ และเทคนิค. กรุงเทพมหานคร: เสมาธรรม.

พงษ์ภัทร์ รัตนสุวรรณ. (2550). การกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพในระดับท้องถิ่น: กรณีศึกษา เทศบาลตำบล ขุนยวม อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พูลสวัสดิ์ นาทองคำ. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการพัฒนาเมืองน่าอยู่ เทศบาลตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มานัต อันทอง. (2554). บทบาทของวิทยุกระจายเสียงชุมชนที่มีต่อการสร้างประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ: ศึกษากรณีอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิศรุตา ทองแกมแก้ว. (2554). แผนฯ 10 กับมิติการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารจัดการท้องถิ่น. ใน รวมบทความวิชาการและวิจัยการประชุมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ แห่งชาติครั้งที่ 11 (1719-1732). มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์.

สติธร ธนานิธิโชติ. (ม.ป.ป.). บทวิจารณ์หนังสือ Why Deliberative Democracy?. สืบค้นจาก http://www.kpi.ac.th/kpith/pdf/

อัญชิรญา จันทรปิฎก. (2555). กระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมของสมัชชาสุขภาพ จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อุไรวรรณ ธนสถิต. (2552). วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 7(3), 49-75.




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2015.13

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus