การเมืองเรื่องการเลือกตั้ง: ศึกษาการหาเสียงเลือกตั้งวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เขตเลือกตั้งที่ 5 จังหวัดเชียงใหม่
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ทำให้ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทยประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เขตเลือกตั้งที่ 5 จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งที่ความนิยม ประสบการณ์ทางการเมือง และผลงานส่วนบุคคลด้อยกว่าผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคชาติไทยพัฒนา ขณะเดียวยังต้องการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ของกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เรียกว่า “กลุ่มคนเสื้อแดง” ระหว่างการเลือกตั้ง ซึ่งทำให้การเมืองเรื่องการเลือกตั้งมีความซับซ้อนน่าสนใจกว่าการหาเสียงโดยผู้สมัครจากพรรคการเมือง ผู้วิจัยได้ใช้แนวคิดการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งและแนวคิดเกี่ยวกับอัตลักษณ์ร่วม ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวิธีการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก
ผลการวิจัยพบว่า ชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไปของผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทยเกิดจากการเคลื่อนไหวของชมรมคนรักฝาง แม่อาย ไชยปราการ กลุ่มคนเสื้อแดงที่มีการวางยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีในการเลือกตั้งอย่างเป็นระบบและปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างอัตลักษณ์ร่วมกันระหว่างคนเสื้อแดงและผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งให้รู้สึกเป็นพวกเดียวกัน ผ่านความทุกข์ยากร่วมกัน มีศัตรูร่วมกัน และต่อสู้เพื่อสิ่งเดียวกัน ในอีกด้านคณะรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทยนำเสนอนโยบายและผลงานที่เหนือกว่าคู่แข่ง มีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการเลือกตั้งและชุดปฏิบัติการต่างๆ ฉะนั้น ทั้งชมรมฯ และคณะรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งต่างทำงานสัมพันธ์กัน เพื่อสร้างกระแสพรรคเพื่อไทย กระแสคนเสื้อแดงและการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย สรุป คือ ชัยชนะของผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทยในเขตเลือกตั้งที่ 5 จังหวัดเชียงใหม่ เป็นผลจากการวางยุทธศาสตร์ของกลุ่มการเคลื่อนไหวทางการเมืองในนามกลุ่มคนเสื้อแดงมากกว่าจะมาจากคุณสมบัติและการหาเสียงของผู้สมัคร
คำสำคัญ: การเลือกตั้ง, การรณรงค์หาเสียง, กลุ่มคนเสื้อแดง
The objective of the study was to explore why a candidate from Pheu Thai party won the election in the electoral district 5 in Chiang Mai provinces held on 3 July 2011 in spite of his inferior popularity, political experience and personal achievement to the candidate from Chat Thai Pattana party. Moreover, this study also aimed to analyze the Red-Shirt political movement’s strategies during electoral campaign period. The linkage between the movement, the party, and the candidate had made politics of election complicated and more interesting than a normal campaign run only by a candidate. The main political concepts used to structure the research are the following: Election campaign and collective identity. The qualitative research methods used in the study comprise documentary and in–depth interviews.
The results of the study indicated that the reasons Pheu Thai party’s candidate won the election mainly because of the strategies employed by the local political group in Fang, Mae eye and Chaiprakarn district. These political groups were a part of the Red Shirt movement which executes their movement according to the current political situation. The notable strategy was to build “common identity” between the Red-Shirt and the voters, through awareness of shared grievance and adversarial attribution. This has made them feel they were on the same side, fight for the mutual goals. In other way, Pheu Thai party also had better political campaign by promoting their good achievement in the past and presenting people with better policy than their adversaries. This was in complies with the establishment of the election headquarter with multi-operative team such as the local political group and advertisement team who were working in conjunction to much party support. The flow of the Red Shirt supporter and their political ideology to fight for democracy has resulted in the way that convince people of this electoral district to make their vote base on the party choices rather than personal qualification.
Keywords: Election, Election Campaign, Red Shirt Group
Full Text:
PDFReferences
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (25 สิงหาคม 2551). การปรับระบบการเมือง. มติชน, หน้า 6.
เพียงกมล มานะรัตน์. (2539). การเมืองเรื่องการเลือกตั้ง: ศึกษากรณี การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งนายกเทศมนตรีของเทศบาลนครเชียงใหม่ปี พ.ศ. 2547. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภิชาต สถิตนิรมัย. (14 กันยายน 2552). ชนชั้นกลางกับปรากฏการณ์เสื้อแดง. ประชาชาติธุรกิจ, หน้า 34.
อาทิตย์ วงศ์อทิติกุล. (2549). ชาวดอยไร้สัญชาติกับอัตลักษณ์: ศึกษากรณีกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าหมู่บ้านพญาไพรเล่ามา จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bernd, S., & Bert, K. (2001). Politicized Collective Identity A Social Psychological Movement. American psychologist, 56(4), 319-331.
เอกสารประกอบการศึกษาของผู้ปฏิบัติการ นปช. แดงทั้งแผ่นดิน พ.ศ. 2555. (2555). เอกสารประกอบการจัดงาน โรงเรียนการเมือง นปช. (เเดงทั้งเเผ่นดิน) หลักสูตร ผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ครั้งที่ 13/2555-2556 ของ ผู้ปฏิบัติการ นปช. แดงทั้งแผ่นดิน พ.ศ. 2555, 7 เมษายน 2556
DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2015.6
Refbacks
- There are currently no refbacks.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus