การออกแบบเลขนศิลป์ที่สะท้อนวัฒนธรรมมุสลิมในประเทศไทย

ภักดี ต่วนศิริ

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสืบค้นอัตลักษณ์เฉพาะเจาะจงชาวไทยมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบเลขนศิลป์ ให้สามารถสะท้อนถึงอัตลักษณ์ทางด้านวัฒนธรรมประเพณีได้อย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เกิดความชัดเจนขึ้น มีความเป็นเอกภาพ
แนวทางการศึกษาหารูปแบบการออกแบบเลขนศิลป์ที่สะท้อนวัฒนธรรมมุสลิมในประเทศไทย มีวิธีการวิจัยโดยเริ่มจากการค้นคว้าเก็บรวบรวมข้อมูลทางเอกสารที่เกี่ยวข้องกับมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบไปด้วย ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อที่จะได้ข้อมูลทางด้านเชื้อชาติ วิถีการดำเนินชีวิต อาชีพ ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาชาวบ้าน จากกลุ่มตัวอย่างผู้เชี่ยวชาญทางด้านวัฒนธรรมจำนวน 3 ท่าน จากนั้นสรุปผลการวิเคราะห์ศิลปวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ของมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบ นำผลงานออกแบบไปประเมินผลโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ และประชากรทั่วไป เพื่อประเมินประสิทธิผลของผลงานการออกแบบ ในแง่ของการออกแบบและการใช้งาน หาข้อบกพร่องและข้อเสนอแนะ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา รวมทั้งเป็นข้อมูลสำหรับการอ้างอิงให้แก่ผู้สนใจการออกแบบเลขนศิลป์ที่แสดงถึงศิลปวัฒนธรรมและประเพณี อันเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม
ผลงานการวิจัยสามารถสรุปออกมาเป็นผลงานออกแบบประกอบด้วยตัวอักษร การใช้สี ตราสัญลักษณ์ ตัวอย่างสื่อสิ่งพิมพ์และงานโฆษณาประชาสัมพันธ์ ตัวอย่างเลขนศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ ตัวอย่างเลขนศิลป์สิ่งแวดล้อม

The purpose of this study was to examine a specific identity of Muslim culture in the three southernmost provinces of Thailand: Pattani, Yala and Narathiwat. The identity which was found will be used for the graphic design works showing the Muslim culture and tradition and promoting a prominence and harmonized image of the three Muslim southernmost provinces.
The research employed a documentary analysis and in-depth interview methods to collect the data. The documents related to the culture of Muslim in the southernmost provinces were explored and analysed. For the in-depth interview, three cultural experts and local intellectuals were interviewed to gather the information on demographic data, ways of life and their wisdom on local cultural and art. The collected data, then analysed and applied to be a guideline for graphic design works. All the graphic designs works then were assessed by experts and laymen to evaluate their quality both in design style and function of use.
As a result of the study, there are the product of letter format, color using, symbol, sample of printing, advertisement, graphic design on packaging and the environment graphic design.


Full Text:

PDF

References


ประสิทธิ์ รัตนมณี และคณะ. (2550). วัฒนธรรมในสามจังหวัด ชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส). ปัตตานี: สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยณิวัฒนา มหาวิทยาสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2014.13

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus