การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันโดยใช้แท็บเล็ตในโรงเรียนมัธยมศึกษา
Abstract
กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษา โดยใช้แท็บเล็ตสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามโครงการ one tablet per child ในปีการศึกษา 2555 และขยายไปยังนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในอนาคต แท็บเล็ต (Tablet) จึงเป็นช่องทางใหม่สำหรับการเรียนในยุคปัจจุบัน โดยสามารถเชื่อมโยงผู้สอนและผู้เรียนเข้าด้วยกันผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย แก้ไขข้อจำกัดเรื่องสถานที่และเวลาในการเรียนการสอน ทำให้การเรียนการสอนทางไกลเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดายและเข้าถึงกลุ่มคนทุกชั้น การที่จะทำให้เกิดผลลัพธ์ทางการเรียนรู้อย่างสูงสุด ต้องจัดการเรียนการสอนด้วยกิจกรรมที่มีความสอดคล้องเหมาะสม เอื้อต่อเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน (Collaborative Learning Management) เป็นวิธีการเรียนที่เน้นการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ โดยที่สมาชิกแต่ละคนต้องมีส่วนร่วมในการเรียนรู้และรับรู้ความสำเร็จของกลุ่ม ทั้งโดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการแบ่งปันทรัพยากรการเรียนรู้ ให้กำลังใจแก่กันและกัน การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันจึงเป็นวิธีการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนตามสาระพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 นอกจากนี้กระทรวงศึกษาธิการยังกำหนดนโยบายส่งเสริมผู้เรียนมีคุณธรรม รักความเป็นไทย มีทักษะการคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ มีทักษะด้านเทคโนโลยี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันโดยใช้แท็บเล็ตในโรงเรียนมัธยมศึกษา จึงเป็นช่องทางหนึ่งของการเรียนรู้ ที่เสริมสร้างทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น สามารถเรียนรู้และทำงานร่วมกันได้ในสังคมแห่งอนาคต
แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน (Collaborative Learning Mannagement) การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเป็นวิธีการเรียนที่เน้นการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ โดยที่สมาชิกแต่ละคนต้องมีส่วนร่วมในการเรียนรู้และในความสำเร็จของกลุ่ม ทั้งโดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการแบ่งปันทรัพยากรการเรียนรู้ รวมถึงการให้กำลังใจแก่กันและกัน สมาชิกแต่ละคนต้องรับผิดชอบการเรียนรู้และภาระงานของตนเอง พร้อมไปกับการมีปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกในกลุ่ม ซึ่งความสำเร็จของแต่ละบุคคลคือความสำเร็จของกลุ่ม และความสำเร็จของกลุ่มคือความสำเร็จของทุกคนเช่นกัน (Panitz, 2001) การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน เป็นวิธีการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดการคิดอย่างมีวิจารณญาน (Critical Thinking) สนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ใหม่ขึ้นได้ด้วยตนเอง
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus