แนวทางการพัฒนาจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนางานวิชาการจากงานประจำของภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ศศิธร ลบล้ำเลิศ, เกศริน ธารีเทียน

Abstract


การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผล ศึกษาปัญหา ความต้องการ และแนวทางการพัฒนาโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนางานวิชาการจากงานประจำ ในการให้บริการทางวิชาการ โดยทำการศึกษาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากผู้เข้ารับการฝึกอบรมจำนวน 148 คน และวิทยากร ผู้รับผิดชอบการฝึกอบรม/ผู้จัดการฝึกอบรม เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรม จำนวน 5 คน

จากการศึกษา พบว่า ความพึงพอใจจากแต่ละรุ่นที่อบรม เพศ กลุ่มอายุ กลุ่มระดับการศึกษา กลุ่มจำนวนปีที่มีประสบการณ์ทำงาน ตำแหน่ง และหน่วยงานที่แตกต่างกัน มีค่าระดับความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน แต่ในรายด้านนั้นแตกต่างกันออกไป จาก CIPP Model ค่าระดับความพึงพอใจในทางด้านกระบวนการ มีค่าสูงสุดแตกต่างออกไปจากด้านอื่น และมีค่าตํ่าสุด แตกต่างจากด้านอื่น คือ ค่าการประเมินสภาวะแวดล้อม เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านนั้น พบว่า ด้านที่เกี่ยวกับวิทยากรได้รับค่าการประเมินระดับความพึงพอใจสูงสุด และด้านที่มีระดับความพึงพอใจแตกต่างออกไปและมีค่าตํ่าสุด คือ ด้านเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย ประเด็นปัญหาสำคัญที่พบ คือ การติดต่อสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ ประเด็นความต้องการที่สำคัญ คือ ช่องทางและความสะดวกรวดเร็วในการลงทะเบียน และวิทยากรที่มีความถนัดเฉพาะด้านในกลุ่มที่ฝึกปฏิบัติ

แนวทางในการพัฒนานั้นควรเพิ่มช่องทางการสื่อสาร การเพิ่มผู้รับผิดชอบ การปรับปรุงค่าใช้จ่าย และการกำหนดวิทยากรกลุ่มให้ตรงกับความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของวิทยากรมากขึ้น

คำสำคัญ: การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ, งานวิชาการจากงานประจำ, ภาควิชาสังคมศาสตร์, คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

 

This research studies about the routine to academics development of Department of Social Sciences, Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University. The objectives of this study are to assess the result, to investigate problems and needs, as well as to suggest the ways to develop R2R workshop. The study methodology included quantitative and qualitative approach. The samples of study included 148 trainees and 5 trainers and related staffs.

The study found that factors i.e. round, sex, age, education level, years of experience, position, and agency did not significantly affect the overall satisfaction. Nevertheless, the satisfaction of each issue was different. According to CIPP Model, the satisfaction of process was the highest. The minimum satisfaction was the environment while the maximum satisfaction was trainer. The lowest satisfaction was budget. The problems included connection and public relations. The important needs included registration channel and specialized trainers for practical group work.

In order to develop routine to academics, this study suggested that connection channels, public relations, registrations, and budget must be increased. In additions, the trainers must be qualified in terms of their specific knowledge and experience.

Keywords: Workshop training, Routine to Academic, Department of Social Sciences, Faculty of Social Sciences and Humanities

 


Full Text:

PDF

References


กัมปนาท อาชา. (2555). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเครือข่าย เพื่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ประยงค์ ห่วงกลาง. (2545). สมรรถภาพและความต้องการเพิ่มพูนสมรรถภาพของครูวิทยาศาสตร์ ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา. เชียงราย: สำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดเชียงราย.

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2544). เอกสารการเรียนการสอนวิชาการบริหารการศึกษา 501702 การบริหารทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรทางการศึกษา เล่มที่ 2. มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์.

สัมพันธ์ อินทะวงศ์. (2540). การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับเสริมสร้างสมรรถภาพครูคณิตศาสตร์ ขั้นประถมศึกษาตอนต้น จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เสรี วรพงษ์, และแสงเทียน อยู่เถา. (2556). การประเมินผลโครงการพื้นที่ลุ่มนํ้าจังหวัดภาคกลาง เขตพื้นที่จังหวัดนนทบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสระบุรี. วารสารสหศาสตร์, 13(1), 85-109.

ศิวาพร มัณฑุกานนท์, กรรณิการ์ นิยมศิลป์, และนภาพร ขันธนาภา. (2527). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2015.11

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus