ถอดบทเรียนกระบวนการการเรียนรู้เชิงบูรณาการกิจกรรมทางเศรษฐกิจพอเพียง แบบก้าวหน้าของวิสาหกิจชุมชน เพื่อสังคมอยู่เย็นเป็นสุขในจังหวัดราชบุรี

นรินทร์ สังข์รักษา, ธีรศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ

Abstract


การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ถอดบทเรียนการพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน 2) วิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของวิสาหกิจชุมชน 3) ศึกษาความรับผิดชอบต่อสังคมหรือวิสาหกิจบริบาล (CSR) ของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน 4) ศึกษาการปฏิบัติที่ดีในการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้ากับเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน และ5) ศึกษาความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในวิสาหกิจชุมชน การวิจัยเรื่องนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การสุ่มตัวอย่าง แบบเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน 5 กลุ่ม คือ กลุ่มเกษตรกรรม กลุ่มพาณิชยกรรม กลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มบริการ และกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น จำนวน 422 คนและการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง จำนวน 53 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ระดับลึก และร่างการสนทนากลุ่มการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสถิติคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป และการวิเคราะห์เชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น ร้อยละ 63.30 ดำเนินการระหว่าง ปี 2541-2550 ร้อยละ 61.80 มีขนาดของสินทรัพย์ ต่ำกว่า 3 แสนบาท ร้อยละ 55.00 ได้รับความรู้มาจากภายนอกท้องถิ่นมากที่สุด ร้อยละ 37.40 รองลงมาแสวงหาความรู้จากภายในและภายนอกท้องถิ่น ร้อยละ 35.50 แหล่งของความรู้ที่ได้รับมาจากการใช้หลายสื่อ ร้อยละ 55.70 มีการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ร้อยละ 98.80 องค์ความรู้ในการนำมาประยุกต์ใช้ในระดับมาก ร้อยละ43.60 มีการใช้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินงาน ในระดับมาก ร้อยละ 40.80 ผลที่เกิดจากการใช้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินกิจการวิสาหกิจชุมชน ในระดับมาก ร้อยละ 48.10 และบทเรียนที่ได้จากการใช้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินงานในระดับมาก ร้อยละ 48.10 พฤติกรรมการปฏิบัติในวิสาหกิจชุมชนที่ส่งผลต่อกระบวนการเรียนรู้กิจกรรมทาง เศรษฐกิจในระดับมาก มีกระบวนการเรียนรู้จากกลุ่ม/เครือข่าย จากการลงมือปฏิบัติจริงจากการแก้ปัญหาในชีวิตจริง การขับเคลื่อนการเรียนรู้ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ การลดรายจ่าย การเพิ่มรายได้ และการประหยัด บทเรียนที่เกิดจากกระบวนการเรียนรู้กิจกรรมทางเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้าในระดับมาก มีการสร้างและใช้ความรู้ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้าของวิสาหกิจชุมชน 3 ห่วง 2 เงื่อนไข มีการออม การลดหนี้และการลดรายจ่าย และมีศูนย์การเรียนรู้เป็นแหล่งให้ความรู้ การปฏิบัติที่ดี/เหมาะสมที่ถือเป็นผลสำเร็จในการประกอบการวิสาหกิจชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้าในระดับมาก มีวิธีการคิด กระบวนทัศน์ใหม่ มีการตั้งเป้าหมาย เน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ การปฏิบัติตามแนวทางวิถีแห่งความพอเพียง ผลของการปฏิบัติที่ดีของวิสาหกิจชุมชน คือ สามารถเลี้ยงตัวเองได้ และมีความเข้มแข็งของกลุ่ม/เครือข่าย บทเรียนที่ได้รับจากการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้ามาใช้ในวิสาหกิจชุมชนในระดับมาก มีบทเรียนจากในอดีต และบทเรียนในปัจจุบันทั้งระดับบุคคล/ครอบครัว ชุมชน และสังคม ความรับผิดชอบต่อสังคมจากการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้ามาใช้ในวิสาหกิจชุมชนในระดับมาก มีความรับผิดชอบต่อผู้ร่วมงาน (แรงงาน) ต่อกลุ่ม/เครือข่าย ต่อลูกค้า ต่อชุมชน ต่อสังคม และต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ มีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันจากการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้ามาใช้ในวิสาหกิจชุมชนในระดับมาก มีความอยู่เย็นเป็นสุข จากระดับบุคคลที่มีความสุข ความภาคภูมิใจมีชีวิตที่มีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ความสุขจากครอบครัวอบอุ่น ความสุขจากชุมชนเข้มแข็ง

คำสำคัญ : ถอดบทเรียน เศรษฐกิจพอเพียง วิสาหกิจชุมชน สังคมอยู่เย็นเป็นสุข


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus