ความพึงพอใจในการจัดสวัสดิการที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร กระทรวงสาธารณสุข กรณีศึกษาโรงพยาบาลบางบัวทอง

ภัทราภรณ์ ฮุงหวล

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในการจัดสวัสดิการที่ได้รับในปัจจุบันของบุคลากรกระทรวงสาธารณสุข กรณีศึกษาโรงพยาบาลบางบัวทอง 2) เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรกระทรวงสาธารณสุข กรณีศึกษาโรงพยาบาลบางบัวทอง 3) เพื่อศึกษาการจัดสวัสดิการที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรกระทรวงสาธารณสุข กรณีศึกษาโรงพยาบาลบางบัวทอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรใน
โรงพยาบาลบางบัวทอง จำนวน 219 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์แบบ Multiple Regression

ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรกระทรวงสาธารณสุข กรณีศึกษาโรงพยาบาลบางบัวทอง มีความพึงพอใจในการจัดสวัสดิการอยู่ในระดับมาก โดยการจัดสวัสดิการด้านความปลอดภัยอยู่ในระดับมากที่สุด (X_=3.55) รองลงมาด้านความมั่นคงอยู่ในระดับมาก (X_=3.49) ด้านสุขภาพอนามัย (X_=3.47) ด้านนันทนาการ (X_=3.38) ด้านเศรษฐกิจ (X_=3.31) ด้านการศึกษา (X_=3.30) ตามลำดับและพบว่า ความผูกพันต่อองค์การทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก และการจัดสวัสดิการที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การมีด้วยกัน 3 ด้าน คือ ด้านความปลอดภัย ด้านนันทนาการ ด้านความมั่นคง ซึ่งมีนัยทางสถิติที่ระดับ .05 จากการศึกษาวิจัยสามารถนำเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการในโรงพยาบาลบางบัวทอง ดังนี้ คือ ควรมีการพัฒนาการจัดสวัสดิการในด้านที่ไม่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การ ให้มีการพัฒนาและปรับปรุงให้ดีขึ้น บุคลากรควรมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อความต้องการของบุคลากรอย่างแท้จริง

คำสำคัญ: ความพึงพอใจในการจัดสวัสดิการ, ความผูกพันต่อองค์การ, โรงพยาบาลบางบัวทอง

 

The objectives of research were to 1) study the satisfaction level of employees of the Ministry of Public Health currently using the welfare provision at Bangbuathong Hospital, 2) study the organizational commitment level of the employees and 3) study the welfare provision which affects the organizational commitment of the employees. The sample group consisted of 219 employees of Bangbuathong Hospital. The research tool was a questionnaire. Statistics used for data analysis were percentage, mean, and standard deviation as well as multiple regression analysis.

The research results showed that employees at the hospital were satisfied with the welfare provision at a high level. These employees were satisfied with the welfare provision regarding safety at the highest level (X_=3.55), followed by security (X_=3.49), health (X_=3.47), recreation (X_=3.38), economy (X_=3.31), and education (X_=3.30), respectively. The three aspects of organizational commitment were at high levels. Welfare provision regarding safety, recreation, and security significantly affected organizational commitment at the level of .05 The recommendations from the research regarding the development guidelines for welfare provision at Bangbuathong Hospital are as follows: There should be welfare provision which does not affect organizational commitment. Employees should participate in expressing opinions on their needs.

Keywords: Satisfaction with Welfare Provision, Organizational Commitment, Bangbuathong Hospital


Full Text:

PDF

References


ณิชพัณณ์ ศิริวัฒน์ชยดล. (2553). ความต้องการสวัสดิการแรงงานนอกเหนือจากที่กฎหมายแรงงานกำหนด กรณีศึกษา ลูกจ้างองค์การบริหารการปกครองส่วนตำบลบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญรวย ฤาชัย. (2543). การจัดการทรัพยากรมนุษย. กรุงเทพมหานคร: แพรวิทยา.

ภรณี กีรติ. (2529). การประเมินประสิทธิผลองค์การ. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

ระพีพรรณ คำหอม. (2545). สวัสดิการสังคมกับสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สามเจริญพาณิชย์.

สำนักงาน ก.พ. (2551). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551. สืบค้นจาก http://www.ocsc.go.th/ocsc/th/index.php?option=com_content&view=article&id=433&Itemid=209

สภาข้าราชการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2552). โครงการศึกษาวิจัย ความพึงพอใจของบุคลากรต่อการจัดสวัสดิการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจำปี 2551. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สมพงษ์ เกษมสิน. (2526). การบริหารงานบุคคลแผนใหม่. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

สิริลักษณ์ คีรีรัตน์. (2535). ความรู้ความคิดเห็นและความต้องการของครูประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดพิษณุโลกต่อสวัสดิการของคุรุสภา. วิทยานิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุเทพ เชาวลิต. (2527). สวัสดิการสังคม (Social Welfare). กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

อุทัย หิรัญโต. (2530). ระบบราชการไทย. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

อุทัย หิรัญโต. (2532). หลักการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

Buchanan, B. (1974). Building Organization Commitment: The Socialization of Managers in Work Organizations. Administrative Science Quarterly, 19(4), pp. 533-546.

Flippo, E. B. (1976). Principles of personnel management (4th ed.). New York: McGraw-Hill.

Herzberg. F. (1969). Work and the Nature of Man. Cleveland: Thomas Y. Crowell.

Maslow, A. H. (1984). Motivation and Personality (2nd ed.). New York: Harper.




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2015.8

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus