การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเผชิญปัญหาของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการเผชิญปัญหาแบบมุ่งแก้ปัญหาของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีต่อพฤติกรรมการเผชิญปัญหาแบบมุ่งแก้ปัญหาของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ ในปีการศึกษา 2555 จำนวน 390 คน ซึ่งได้จากการแบ่งกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันโพรดักส์โมเมนต์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบลำดับขั้น
ผลการวิจัยพบว่า
1. พฤติกรรมการเผชิญปัญหาแบบมุ่งแก้ปัญหาของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ อยู่ในระดับมาก
2. การสนับสนุนทางสังคม การอบรมเลี้ยงดูแบบใช้อำนาจมีเหตุผล ความฉลาดทางอารมณ์ และการรับรู้ความสามารถของตนเอง เป็นตัวแปรที่ได้รับการคัดเลือกเข้าสมการตามลำดับและสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการเผชิญปัญหาแบบมุ่งแก้ปัญหาของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ ร้อยละ 35.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งผลการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง พบว่า ปัจจัยภายนอก ได้แก่ การอบรมเลี้ยงดูแบบใช้อำนาจมีเหตุผลและการสนับสนุนทางสังคม ช่วยให้นักศึกษามีพฤติกรรมการเผชิญปัญหาแบบมุ่งแก้ปัญหา เนื่องจากลักษณะการอบรมเลี้ยงดูที่ใช้เหตุผล มีส่วนช่วยฝึกให้นักศึกษามีความคิดเป็นเหตุเป็นผล มีความรับผิดชอบ ใช้การพึ่งพาตนเองเป็นหลัก ในขณะเดียวกันที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคม เช่น ความช่วยเหลือต่างๆ ก็ช่วยให้นักศึกษาเผชิญปัญหาต่างๆ ได้ ส่วนปัจจัยภายใน ได้แก่ การเห็นคุณค่าในตนเอง การรับรู้ความสามารถของตนเอง และความฉลาดทางอารมณ์ เป็นส่วนที่เกิดขึ้นภายในตัวของนักศึกษาที่ผลักดันความรู้สึกของนักศึกษาให้มีความคิดและมีพฤติกรรมการเผชิญปัญหาแบบมุ่งแก้ปัญหา
คำสำคัญ: พฤติกรรมการเผชิญปัญหาแบบมุ่งแก้ปัญหา, วัยรุ่น, นักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร
This research aims 1) to study a level problem-focused coping behavior for Silpakorn University students Sanamchandra Palace Campus, 2) to study the factors that affect problem-focused coping behavior problems of students of Silpakorn University Sanamchandra Palace Campus. Samples were 390 Silpakorn University students Sanamchandra Palace in the 2012 academic year, derived by Stratified Random Sampling. The instruments to collect data were one set of questionnaire and interview. The interviews were semi-structured. Data were analyzed with SPSS for window. Statistics using in this information analysis are frequency, Mean (X_), Percentage, Standard Divation (S.D.), Pearson’s Product-moment Correlation and Stepwise Multiple Regression Analysis.
The results were:
1. Problem-focused coping behaviors of Silpakorn University students Sanamchandra Palace Campus found at high level.
2. Social support, authoritative parenting style, Emotional intelligence and self-efficacy are selected into equation respectively and all of these could predict the problem-focused coping behavior by 35.2 percent with statistical significant .05 level. And the interview results support the findings that external factors are authoritative parenting style Social support help students coping behaviors oriented solutions. Due to the nature of parenting reasoning has helped to train students to think logically and responsible Self-reliance is the main Meanwhile, received social support including assistance in It allows students to face problems. The internal factors are self-esteem, self-efficacy and Emotional intelligence are occurring inside the students to have a sense of thinking and coping behaviors oriented solutions.
Keywords: Problem-forcused coping behavior, Adolescence, Silpakorn University students
Full Text:
PDFReferences
กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์. (2555). จำนวนนักศึกษา ปีการศึกษา 2555. สืบค้นจาก http://reg.2.su.ac.th/registrar/studentByProgram.asp
คณิต เขียววิชัย. (2554). รายงานการวิจัยการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์และความสนใจในการทำกิจกรรมนันทนาการกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์. นครปฐม: ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชัยนรินท์ จันทร์เอี่ยม. (2548). ปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเมืองที่มีผลต่อพฤติกรรมการทำผิดกฎหมายของเด็กและเยาวชน ศึกษากรณี: สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
นันทินี ศุภมงคล. (2547). ความวิตกกังวล การสนับสนุนทางสังคมและกลวิธีการเผชิญปัญหาของนิสิตนักศึกษา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มธุรส วงศ์คุณันดร. (2547). พฤติกรรมการเผชิญปัญหาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ช่วงชั้นที่ 3 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 1 อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รัชจฉา สิงห์ทอง. (2545). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเผชิญปัญหา ความพึงพอใจในชีวิต แรงสนับสนุนทางสังคม และภาวะซึมเศร้า ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รัชดาวรรณ์ แดงสุข. (2550). การอบรมเลี้ยงดูที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตของนักเรียนมัธยมศึกษา โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วัลลภ ปิยะมโนธรรม. (2546). คุยกับนักจิตวิทยา 1 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: มิตรนราการพิมพ์.
ทีมข่าวปชส. (2550). วิกฤต!! คุณธรรมเยาวชนไทย. วารสารการศึกษาไทย, 30(4),37-40.
วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. (2551). เชาวน์อารมณ์=Emotional Quotient (EQ): ดัชนีเพื่อความสุขและความสำเร็จของชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศรัณพร คันธรส. (2552). ผลของการอบรมเลี้ยงดูที่มีต่อความสามารถในการเผชิญปัญหาและฝ่าฟันอุปสรรคของนักศึกษา คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2545). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2551). ทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพมหานคร: หมอชาวบ้าน.
ศิริกุล อิสรานุรักษ์, และปราณี สุทธิสุคนธ์. (2556). การอบรมเลี้ยงดูเด็ก. สืบค้นจาก http://www.cf.mahidol.ac.th/autopage/file/MonAugust2008-12-35-464sef%20-%20esteem.pdf
สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ. (2548). 20 ปี วันเยาวชนแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็กฯ.
สิริอนัฐพร สุวี. (2548). ความสามารถในการพยากรณ์ของการรับรู้ความสามารถของตนเอง และการได้รับการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการเผชิญปัญหาของวัยรุ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุรพล พยอมแย้ม. (2548). จิตวิทยาสัมพันธภาพ=Psychology of interpersonal relations. กรุงเทพมหานคร: บริษัทบางกอก-คอมเท.
Abdo, N. (2011). Academic performance and social/emotional competence in adolescence. Ph.D. Dissertation, Yeshiva University.
DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2015.12
Refbacks
- There are currently no refbacks.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus