การศึกษาการปฏิบัติของผู้เรียนในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหิดล

ศิริพร ทองสมคิด

Abstract


การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เรียนในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป และเพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะของนักศึกษาเหล่านี้เกี่ยวกับหมวดวิชาศึกษาทั่วไป กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ลงทะเบียนเรียนหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 359 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาแสดงว่า การปฏิบัติของผู้เรียนโดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก ระดับการปฏิบัติที่อยู่อันดับสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ การปฏิบัติด้านสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดีต่อวิชาที่เรียนมากที่สุด ด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ และด้านทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และมีเจตคติที่ดี ขณะเดียวกัน พบว่า ระดับการปฏิบัติด้านทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนอย่างต่อเนื่อง อยู่ในระดับน้อยสุด
สำหรับข้อเสนอแนะ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่า ควรมีเทคนิควิธีการสอนแบบใหม่ๆ เนื้อหาที่เรียนไม่ควรมีมากเกินไป และควรให้ปรับรายวิชาหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิชาเลือกเสรี เพื่อทำให้ผู้เรียนเลือกที่จะเรียนได้อย่างอิสระ

This Survey research aimed to study levels of practice among Mahidol University’s students enrolling in general education courses and to collect their suggestions about the general education courses. The samples in this study were 359 undergraduate students of Mahidol University. The research tool was questionnaire. Statistics used to analyze the data comprised percentage, average and standard deviation. 
Findings showed that the overall level of practice among Mahidol University’s students enrolling in general education courses was high. The three highest levels of practice consecutively were the practice related to hygiene, physical and mental health; virtues, morality and desirable values; and working, devotion, team working and good attitude. It was found that the practice related to self-learning skills, love for learning and continuous self-development had the lowest level.
It is recommended by the respondents that new instructional techniques should be introduced. The instructional content should not be too much. Mahidol University’s undergraduate courses in general education should be elective.


Full Text:

PDF

References


กระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2548. (2548). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 122 ตอนพิเศษ 39 ง. หน้า 7-13.

จักรกฤษณ สําราญใจ. (2544). การกําหนดขนาดของกลุ่มตัวอยาง เพื่อการวิจัย. สืบคนจาก http://www.jakkrit.lpru.ac.th/ pdf/27_11_44/9.pdf

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. (2542). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74ก. หน้า 5-6

วิชัย ประสิทธิ์วุฒิเวช. (2544). การจัดการเรียนการสอนตามพระราช บัณฑิตการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. วารสารทางวิชาการ, 4(6), 1-8.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2549). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-10. สืบค้นจาก http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=62

สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2544). พระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2542. ม.ป.ท.




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2014.18

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus