วิธีปฏิบัติที่ดีและความเชื่อมโยงกับชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวแบบฟาร์มสเตย์ กรณีศึกษา: สินมานะฟาร์มสเตย์ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ศิรินภา ขาวผ่องอำไพ

Abstract


การศึกษามีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลที่เกิดจากการท่องเที่ยวแบบฟาร์มสเตย์ของสินมานะฟาร์มสเตย์ ศึกษาความเชื่อมโยงของการท่องเที่ยวแบบฟาร์มสเตย์ของสินมานะฟาร์มสเตย์ กับชุมชน และศึกษาวิธีการปฏิบัติที่ดีด้านการบริหารจัดการท่องเที่ยวแบบฟาร์มสเตย์ของสินมานะฟาร์มสเตย์ ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย 1) เจ้าของกิจการฟาร์มสเตย์ 2) องค์กรภาครัฐ 3) ผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน 4) ประชาชนในพื้นที่ศึกษา และวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลที่เกิดจากการท่องเที่ยวแบบฟาร์มสเตย์ของสินมานะฟาร์มสเตย์ การท่องเที่ยวแบบฟาร์มสเตย์มีผลกระทบต่อชุมชนทั้งเชิงบวกและเชิงลบในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน (ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม และด้านสิ่งแวดล้อม) 2) ความเชื่อมโยงของการท่องเที่ยวแบบฟาร์มสเตย์ของสินมานะฟาร์มสเตย์กับชุมชน เป็นการจัดการท่องเที่ยวโดยอาศัยชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มจากฐานทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชนใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในชุมชน ตลอดจนจัดกิจกรรมท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม วิถีชีวิตในชุมชน 3) วิธีการปฏิบัติที่ดีด้านการบริหารจัดการท่องเที่ยวแบบฟาร์มสเตย์ของสินมานะฟาร์มสเตย์ พบว่า บริหารจัดการแบบเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแหล่งเรียนรู้กลางทะเลต้นแบบการอนุรักษ์ ดังนั้น ประชาชนในพื้นที่ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรได้รับการอบรม ชี้แนะ เรียนรู้การอยู่ร่วมกันเพื่อก่อให้เกิดความยั่งยืน

คำสำคัญ: วิธีปฏิบัติที่ดี, ความเชื่อมโยงกับชุมชนในการจัดการ, ท่องเที่ยวแบบฟาร์มสเตย์, การท่องเที่ยวแบบฟาร์มสเตย์

 

This article aims to study results of farm stay tourism, connection of farm stay tourism and community, the best practices of farm stay tourism management. The case study was Sin Mana Farm Stay, Kanchanadit District, Suratthani Province. In this qualitative research, collected In-depth Interview data were collected from key informants, 1) farm stay owner, 2) government organizations, 3) people operation involved and 4) people living in the study area and content analysis.

Results of research showed that the best practices and the community linkage of farm stay tourism management: A case study in Sin Mana Farm Stay Kanchanadit District, Suratthani Province 1) Results of farm stay tourism. Farm Stay Tourism is affecting communities both positive and negative. In four of overall (Economic, Community, Culture, and Environmen) 2) Connection of farm stay tourism and community. The Tourism Management through community participation. To create value from the natural resources available in the community. The tourism was instrumental in the development of local communities. A learning process that takes place in the community as well as the activities that are consistent with the culture. Living in the community. 3) The best practices of farm stay tourism management have been found Management sufficiency economy The Marine Resources Conservation prototype. So people living in And those involved should be trained to guide learning to live together, to encourage sustainability.

Keywords: best practices, linkages between farm stay tourism and community, farm stay tourism


Full Text:

PDF

References


จันทร์ทิพย์ เจ๊ะเหยง. (2551). บทบาทของประชาชนในการอนุรักษ์ป่าชายเลน: กรณีศึกษาตำบลพลายวาส อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. การศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธนกฤต สังข์เฉย. (2550). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปกร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

พจนา สวนศรี. (2526). คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพมหานคร: โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ.

ภัทรพงศ์ อินทรกำเนิด, และคณะ. (2553). รายงานการวิจัยระบบนวัตกรรมรายสาขา เพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจฐานความรู้และเชิงสร้างสรรค์: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายด้านการศึกษามหภาค สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.

อธิฏฐาน พงศ์พิศาล. (2549). ผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรมจากการพัฒนาการท่องเที่ยวภายใต้โครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ: กรณีศึกษาบ้านไทย-จังโหลน อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2015.15

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus