ปัจจัยที่เอื้อต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของลูกจ้างโรงพยาบาลนครปฐม

ฉันทนา บุญชู

Abstract


การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ที่มีต่อบรรยากาศองค์การ และองค์การแห่งการเรียนรู้ของลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลนครปฐม และเพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ ปัจจัยทางด้านบรรยากาศองค์การที่เอื้อต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ตามการรับรู้ของลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลนครปฐม โดยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส รายได้ ระยะเวลาการปฏิบัติงาน หน่วยงานที่ปฏิบัติ ประเภทตำแหน่ง และตำแหน่งงาน ปัจจัยด้านการรับรู้บรรยากาศองค์การ 9 มิติ ตามแนวคิดของ ลิทวิน และสตริงเจอร์ ปัจจัยด้านการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ตามแนวคิดของมาร์ควอร์ท 5 องค์ประกอบ กลุ่มตัวอย่างคือ ลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลนครปฐม จำนวน 298 คน โดยมีระยะเวลาศึกษาตั้งแต่เดือนสิงหาคม ถึงเดือนกันยายน 2556 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการ แจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้เพื่อทดสอบสมมติฐาน ใช้การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนจำแนกทางเดียว การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการศึกษา พบว่า 1) การรับรู้บรรยากาศองค์การในภาพรวมอยู่ในระดับสูง 2) การรับรู้ต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้านการรับรู้บรรยากาศองค์การต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีสถานภาพสมรสต่างกันมีการรับรู้การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานที่มีภารกิจต่างกัน มีการรับรู้ต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้บรรยากาศองค์การในรายมิติกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ โดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า ปัจจัยการรับรู้บรรยากาศองค์การที่เอื้อต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของลูกจ้างโรงพยาบาลนครปฐม ได้แก่ มิติด้านการตัดสินใจ มิติด้านการสนับสนุนการฝึกอบรมและพัฒนา มิติด้านการรับรู้ผลงานและรางวัล มิติด้านความมั่นคงและความเสี่ยง มิติด้านการติดต่อสื่อสาร และมิติด้านความขัดแย้ง มีผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของลูกจ้างโรงพยาบาลนครปฐม ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสามารถทำนายการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของลูกจ้างโรงพยาบาลนครปฐมได้ ร้อยละ 75.80 ซึ่งแสดงว่า ลูกจ้างโรงพยาบาลนครปฐม มีการรับรู้ต่อบรรยากาศองค์การ และการรับรู้ต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับสูง และความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้บรรยากาศองค์การในรายมิติกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ สามารถทำนายการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของลูกจ้างโรงพยาบาลนครปฐมได้ในระดับสูง

The purpose of this quantitative research was to find the level of organization climate, learning organization and factors enhancing learning organization as perceived by Nakhonpathom Hospital employees. According to personnel variables factors of sex, age, education, marital status, income, duration of work, division of work, position type, job position; the organization climate variables 9 factors based on the research and work by Litwin and Stringer; the learning organization variables 5 factors based on the research and work by Michael J. Marquardt. The sampling group included 298 personnel. The assessment tool was a questionnaire. The collecting data were analyzed by means of distributing frequency, percentage, arithmetic mean, the standard deviation, T-test, One-Way ANOVA and Multiple Regression Analysis at .05 level of the significance.
The research finding revealed that:
1) The overall organization climate as perceived by Nakhonpathom Hospital employees was at high level.
2) The overall learning organization as perceived by Nakhonpathom Hospital employees was at high level.
3) The factors enhancing learning organization mean as follows; there was significantly difference of personnel variables factors regarding marital status, division of work toward the learning organization as perceived by Nakhonpathom Hospital employees at .05 level of the significance. Additionally analyzing factors by Multiple Regression Analysis, found that the perception of organization climate in items of making decision, support and training, recognition and rewards, standard and risk, communication, conflict related to the learning organization at .05 level of the significance. So It was adjusted for learning organization as perceived by Nakhonpathom Hospital employees at 75.80 percentage. It was concluded that the perceptions of organization climate and learning organization by Nakhonpathom Hospital employees was at high level. And the perception of organization climate was adjusted for learning organization as perceived by Nakhonpathom Hospital employees at high level.

 


Full Text:

PDF

References


กาญจนา เกียรติธนาพันธุ์. (2542). บรรยากาศองค์การที่เอื้อต่อการพัฒนา ไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้: กรณีศึกษากองสาธารณสุขภูมิภาค สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ภาคนิพนธ์ปริญญาวิทยา ศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โครงการบัณฑิตศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

แก้วตา ไทรงาม และคณะ. (2548). ผู้นำเชิงกลยุทธ์ เพื่อสร้างองค์การ แห่งการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.

วีรวัฒน์ ปันนิตามัย. (2544). การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ ( พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ธีระป้อมวรรณกรรม.

ราชกิจจานุเบกษา. (2546). พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และ วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. เล่มที่ 120. ตอนที่ 100, 3-4.

สมยศ นาวีการ. (2547). องค์การ ทฤษฎี และพฤติกรรม. กรุงเทพมหานคร: กรุงธนพัฒนา.

สุพัตรา จันทร์เทียน. (2543). การรับรู้บรรยากาศองค์การและศักยภาพ การพัฒนาไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ กรณีศึกษา: วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ภาคนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2014.10

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus