แรงจูงใจในการเรียนวิชาพระพุทธศาสนาของนักเรียน ในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์เขตกรุงเทพมหานคร

นิคม แย้มย้อย

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแรงจูงใจภายในและภายนอกของนักเรียนในการเรียนวิชาพระพุทธศาสนาในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจระหว่างนักเรียนแต่ละระดับในการเรียนวิชาพระพุทธศาสนาในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจของนักเรียนในการเรียนวิชาพระพุทธศาสนาในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์เขตกรุงเทพมหานคร
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย นักเรียนจากศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ 9 แห่ง จำนวน 468 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่าย และพระผู้สอน จำนวน 30 รูป เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามนักเรียนและพระผู้สอนที่เป็นแบบมาตรประมาณค่า และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัยนำแบบสอบถามแจกให้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดด้วยตัวเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยใช้ค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) แรงจูงใจในการเรียนวิชาพระพุทธศาสนาของนักเรียนในการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ด้านแรงจูงใจภายใน พบว่า นักเรียนมีแรงจูงใจภายในโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความภาคภูมิใจอยู่ในระดับมาก และรองลงมาด้านความศรัทธา/ความเชื่ออยู่ในระดับมากเช่นกัน 3) แรงจูงใจภายนอก โดยรวมพบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านผู้ปกครอง (ความคาดหวัง, การสนับสนุน) อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ด้านครูผู้สอนอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน 4) ผลการเปรียบเทียบแรงจูงใจระหว่างนักเรียนแต่ละระดับ พบว่า ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับที่ .05 5) แนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจแก่นักเรียนตามความคิดเห็นของนักเรียนนั้นเห็นว่าปัจจัยด้านผู้ปกครองสำคัญมาก รองลงมาคือ ด้านวิธีการสอนของครู ส่วนแนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจแก่นักเรียนตามความคิดเห็นของพระผู้สอน พบว่า พระผู้สอนมีความคิดเห็นว่าปัจจัยด้านครูผู้สอนและด้านวิธีการสอนสำคัญมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านผู้ปกครองอยู่ในระดับมาก

The purposes of this research were 1) to study intrinsic and extrinsic learning motivation in Buddhism of students in Sunday Buddhists Study Centers in Bangkok., 2) To compare motivation among students in each educational level in Sunday Buddhist study Centers., and 3) to study guidelines for promoting learning motivation in Buddhism students in Sunday Buddhist study centers in Bangkok.
The samples consisted of 468 students who were randomly selected from 9 Buddhist Sunday Centers and 30 purposively selected monk instructors. Research instruments were rating scale questionnaires, with the reliability of 0.92, for students and instructors. The researcher distributed questionnaires to all samples by himself. Data were analyzed by percentage, mean, standard deviation and F-test for comparing motivation among students in each education level.
The results of study were as follows : 1) The overall learning motivation in Buddhism of students in Sunday Buddhist study Centers was at a high level, 2) The overall intrinsic motivation of students was a high level. When considering in each aspect, it was found that the aspect of proudness and the aspect of belief were at a high level, 3) The overall extrinsic motivation was at high level. When considering in each aspect, it was found that the aspect of parents (expectation, supports) and the aspect of instructors were at high level. 4) It was no significantly different (at 0.5 statistical level) of motivation among students at each educational level, 5) For guideline to promote learning motivation, students gave the significance to motivation from the parents most and next was teaching method while the monk instructors gave significance to the instructors and method of teaching at a highest level. Next was the parents at a high level.


Full Text:

PDF

References


กรมการศาสนา. (2555). เอกสารการประชุมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติ การผู้บริหารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในเขต กรุงเทพฯ. จัดโดย กระทรวงวัฒนธรรม วันที่ 25 ธันวาคม 2555 ณ วัดนาคปรก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร.

จำนง อดิวัฒนสิทธิ์. (2545). สังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับ หลักสูตร. กรุงเทพฯ: ชมรมเด็กประสาท.

ปราณี หลำเบ็ญสะ. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเอกชน สอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

พระปริยัติกิจโกศล ขิม อิสสรธมโม. (2541). เอกสารจากผลงานวิจัย การบริหารงานของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนา วันอาทิตย์ในเขตกรุงเทพมหานคร 2541. ผู้วิจัย พระมหาทัศนันท์ โบราณมูล ปริญญาโท สาขาการ บริหารการศึกษา สถาบันราชภัฏพระนคร.

ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์. (2547). การศึกษาปัจจัยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนของนักเรียน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจที่เรียนอยู่ใน วิทยาลัยเทคนิค เขตการศึกษา 4 ภาคใต้. เอกสารการประชุม ทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 42: สาขาศึกษาศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์ สาขามนุษยศาสตร์ สาขาเศรษฐศาสตร์ สาขาบริหารธุรกิจ สาขาคหกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ, หน้า 66-74.

พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา. (2542). พฤติกรรมกลุ่ม. กรุงเทพฯ: พัฒนาการศึกษา.

พระมหาภักดี เกตุเรน. (2547). ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจในการเรียน วิชาพระพุทธศาสนาของนักเรียนศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนา วันอาทิตย์วัดช้างให้ อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พระมหาสมชาย ฐานวุฑฺโฒ. (2550). มงคลชีวิต ฉบับทางก้าวหน้า. ชมรมพุทธศาสตร์สากลในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์. กรุงเทพฯ: ฐานการพิมพ์ จํากัด.

พระมหาสมยศ เพียสา. (2553). การศึกษาและพัฒนาแรงจูงใจในการ เรียนวิชาพระพุทธศาสนาของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โดยใช้กิจกรรมกลุ่ม. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชา จิตวิทยาการแนะแนว มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มาลี จุฑา. (2542). จิตวิทยาการเรียนการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: อักษรพิพัฒน์.

สุจิตรา บุณยรัตพนธุ์. (2534). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สุธรรม อารีกุล และคณะ. (2540). อุดมศึกษาไทย: วิกฤตและทางออก. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Eggen, P., & Kauchak, D. (2004). Educational Psychology: Windows, Classrooms. Upper Saddle River: Pearson Prentice Hall.

Keller, J. M. (1983). Motivational design of instruction. In C.M. Reigeluth (Ed.), Instructional design theories and models: An overview of their current status (pp. 386–434). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2014.4

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus