การศึกษาเปรียบเทียบการบริหารจัดการโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในจังหวัดสมุทรปราการ

ภาคภูมิ พู่สกุลสถาพร

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง บ้านคลองเล้าหมู ตำบลแพรกษา ซึ่งเป็นกองทุนฯ ที่ประสบความสำเร็จกับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ชุมชนสุนทรศาลทูล ตำบลบางเมืองใหม่ ซึ่งเป็นกองทุนฯ ที่ประสบความล้มเหลวโดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสนทนากลุ่มย่อย และการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม
ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองมีความแตกต่างกันระหว่างสองกองทุนฯ เนื่องจากปัจจัยด้านการบริหารจัดการและการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน รวมถึงปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม โดยปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านฯ คือ ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ ซึ่งมีทั้งสิ้น 5 ประการ ได้แก่ ปัจจัยด้านระบบการทำงาน ปัจจัยด้านการปฏิบัติงาน ปัจจัยด้านการวางแผนและการกำหนดกลยุทธ์ ปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านทักษะ นอกจากนั้นแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ซึ่งถือว่า เป็นองค์ประกอบภายนอกที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานกองทุนฯ ด้วยเช่นกัน
ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ คือ การนำนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง มาปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จ ผู้ปฏิบัติงานควรมีความเข้าใจแนวทางการบริหารจัดการและการมีส่วนร่วม รวมถึงปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของชุมชน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการส่งเสริมให้การดำเนินงานกองทุนฯ ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของนโยบาย

The purpose of this research is to observe and compare the operations of Village and Urban Community Funds with the scope of observation set by Baan Khlong Lao Moo, Praek Kasa subdistrict, Meung Samut Prakan Village and Urban Community Fund unit; deemed as successful, and Soonthorn San Thoon Community, Bang Meung Mai subdistrict, Meung Samut Prakan Village and Urban Community Fund unit; deemed as unsuccessful. This research is a qualitative research includes documentary research, in-depth interviews, focus group sessions and non-participant observation.
The result of the observations has shown that the operations of the two village and urban community fund units difference because management factors, participation of the local citizens and environment factors. Factors affecting the funding operations include 5 management-related factors consisting of workflow, performance, planning and strategy, human resources and operational skills including others factors like cooperation factor and environmental factor which externally affect the success rate of the funding operations.
The recommendations arising from this research are to bring village and urban community fund  and apply the methods to be successful, to understand the management and cooperation methods and environmental factors. These are  important factors in promoting village fund to be success.


Full Text:

PDF

References


ทักษิณ ชินวัตร. (2544). เอกสารประกอบคำบรรยายงานสัมมนาผนึกกำลังประชารัฐขั้นเตรียมนโยบายกองทุนหมู่บ้านฯ ของสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ, 16 มิถุนายน.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2548). การมีส่วนร่วม แนวคิด ทฤษฏี และกระบวนการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ บริษัท พาณิชพระนคร.

ทนงศักดิ์ คุ้มไข่นํ้า. (2541). หลักการพัฒนาชุมชน. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พฤทธิสาร ชุมพล, ม.ร.ว. (2544). ระบบการเมือง: ความรู้เบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิทยา บวรวัฒนา. (2541). ทฤษฎีองค์การสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร: ศักดิ์โสภาการพิมพ์.

เพลินพิศ สัตย์สงวน. (2549). การวิเคราะห์นโยบายกองทุนหมู่บ้านฯ. เอกสารประกอบการบรรยาย สู่หนึ่งทศวรรษหลังวิกฤตเศรษฐกิจ: ได้เรียนรู้และปรับปรุงอะไรบ้าง ของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, 9-10 ธันวาคม.

วิจิตรา พู่สกุลสถาพร, พัฒนากรประจำตำบล สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ, สัมภาษณ์ 15 มกราคม 2555.

วันชัย มีชาติ. (2544). พฤติกรรมการบริหารองค์การสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง. (2553). คู่มือกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง. กรุงเทพมหานคร: สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. (2553ก). แนวทางการพัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป็นนิติบุคคลตาม พรบ. 2549-2550. สมุทรปราการ: สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. (2553ข). คู่มือและเอกสารพัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง. สมุทรปราการ: สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี.

Easton, D. (1965). A Framwork for Political Analysis. United States of America: Englewood Cliffs, N.J. Prentice-Hall.




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2014.33

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus