การพัฒนากองทุนหมู่บ้านไปสู่สถาบันการเงินชุมชน:ความรู้ และข้อเสนอสู่ความจริง

สายชล ปัญญชิต

Abstract


บทความชิ้นนี้ศึกษาการพัฒนากองทุนหมู่บ้านไปสู่การเป็นสถาบันการเงินชุมชนโดยกล่าวถึงที่มาของนโยบายสาธารณะดังกล่าวตลอดจนอธิบายสภาพพื้นฐานและกิจกรรมการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านและสถาบันการเงินชุมชน ในตอนท้ายงานชิ้นนี้ได้ยกข้อเสนอมาเพื่อการพัฒนากองทุนหมู่บ้าน ทั้งในมิติของการบริหารองค์กร การพัฒนาเทคโนโลยี และประเด็นที่เกี่ยวข้องอื่นๆ จากการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยพบว่ากองทุนหมู่บ้านซึ่งมีระยะเวลาดำเนินการมากว่า 9 ปีแล้วนั้น กองทุนแต่ละกองทุนมีความแตกต่างในคุณภาพของการดำเนินงานและความมั่นคงทางการเงินของกองทุน การศึกษาชี้ว่า หากรัฐบาลต้องการพัฒนากองทุนหมู่บ้านให้ไปสู่การเป็นสถาบันการเงินชุมชนได้อย่างมั่นคง มีความจำเป็นที่รัฐบาลและสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแล จักต้องให้ความสำคัญต่อการพัฒนาในอีกหลายมิติ เช่น ในเรื่องของการพัฒนาข้อกฏหมายขึ้นมารองรับการบริหารจัดการกองทุน การสนับสนุนให้ชุมชนมีความรู้และความเข้าใจในระบบองค์กรการเงินชุมชน เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ในอนาคตกองทุนหมู่บ้านสามารถเป็นแหล่งเงินทุนชั้นต้นให้กับชุมชนเพื่อลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียดอกเบี้ย และเพื่อสร้างโอกาสที่มากขึ้นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนในชุมชนเอง ถ้าหากสถาบันการเงินชุมชนมีความมั่นคงและสามารถให้บริการได้อย่างครอบคลุมในระดับชุมชนหรือขยายไปสู่ระดับตำบลได้ ชุมชนจะสามารถนำเงินกำไรของสถาบันการเงินชุมชนไปสร้างระบบสวัสดิการและพัฒนาชุมชนในด้านต่างๆ ได้

คำสำคัญ: กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สถาบันการเงินชุมชน การพัฒนาชุมชน สังคมวิทยาการพัฒนา


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus