การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบ u-Learning

นพดล ผู้มีจรรยา, พัลลภ พิริยะสุรวงศ์

Abstract


จากกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระยะ พ.ศ. 2554 – 2563 ของประเทศไทย (ICT 2020) ได้มุ่งเน้นให้มีการเรียนรู้อย่างฉลาด (Smart learning) ประกอบกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติมีบทบัญญัติที่ให้มีการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและควรจัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสะดวกในการเรียนรู้ของผู้เรียนรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมในการนำมาใช้ในการเรียนการสอนในปัจจุบัน คือ การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-based learning - PBL) ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากแนวคิดตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์นิยม (Constructivism) โดยให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่ จากการใช้ปัญหาที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริงเป็นบริบท (context) ของการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์และคิดแก้ปัญหา และในปัจจุบันเทคโนโลยีทางการศึกษาได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการเรียนการสอนเป็นการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Learning ในรูปแบบของ CAI และการเรียนการสอนผ่านเว็บ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการเรียนการสอนและช่วยเพิ่มผมสัมฤทธ์ิทางการเรียนของผู้เรียนได้ ในยุคต่อมาได้มีการนำโทรศัพท์มือถือมาใช้ในการเรียนการสอนเรียกกว่า m-Learning และในปัจจุบันได้มีการพัฒนาสู่การเรียนรู้แบบ u-Learning ซึ่งเป็นการเรียนการสอนโดยใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพา เช่น Tablet PC และเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย เป็นเครื่องมือสำคัญในการอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาตามความต้องการของผู้เรียน และที่สำคัญการเรียนรู้แบบ u-Learning จะคำนึงถึงบริบทของผู้เรียนซึ่งคุณสมบัตินี้สอดคล้องกับการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สภาพแวดล้อมที่อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาและคำนึงถึงบริบทของผู้เรียนเรียกว่า u-Learning Environment หรือ ULE u-Learning ยังมีความสอดคล้องกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักเนื่องจาก u-Learning จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถดำเนินกิจกรรมการแก้ปัญหาตามกระบวนการแก้ปัญหาของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักได้ทุกที่ทุกเวลา ผู้เรียนสามารถสื่อสารกับเพื่อนหรือผู้สอนได้อย่างสะดวกผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาโดยใช้การสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย ดังนั้น u-Learning จึงมีความเหมาะสมในการนำมาใช้ในการเรียนการสอนร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เพิ่มช่วยเพิ่มผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน และช่วยเพิ่มทักษะการแก้ปัญหาให้กับผู้เรียนได้


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus