พฤติกรรมการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้: กรณีศึกษาป่าชุมชนบ้านช่องแคบ ตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี

ปกรณ์ คมขำ

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้ รวมทั้งศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้: กรณีศึกษาป่าชุมชนบ้านช่องแคบ ตําบลท่าเสา อําเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามกับประชากรในชุมชนบ้านช่องแคบ จำนวน 371 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (Statistical Package for Social Sciences) โดยสถิติค่าความถี่ ค่าอัตราส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าตํ่าสุด การทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มใช้สถิติแบบที (t-test) สถิติการผันแปรทางเดียว (One way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยรายคู่ (Scheffe)
ผลการวิจัยพบว่า ประชากรในชุมชนบ้านช่องแคบมีพฤติกรรมการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้ในระดับตํ่า ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ และในเชิงสังคมและวัฒนธรรม โดยปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้ คือ สถานภาพทางสังคม อาชีพหลัก ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในป่าชุมชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ภูมิลำเนาเดิม และระยะห่างจากป่าชุมชนถึงที่อยู่อาศัย

This research aimed to study the forest resource management and the factors affecting the behavior of forest resource management, including the problems and suggestions for the conservation of forest resources in a case study of the community forest of Chongkaeb village, Thasao sub-district, Kanchanaburi province. This study was survey research by sampling of a population of 371 people in Chongkaeb village, and analysis of the data was carried out using Statistical Package for Social Sciences to determine statistical frequencies, percentages, arithmetic averages, standard deviations, maximum and minimum values, t-test statistics, one way ANOVA and Scheffe test.
The results showed that the behavior of the forest resource management process is at a low level. Classification of the behaviors of the forest resource management, the results showed that the behavior of forest resource management is at low levels in parts concerning the economics, social and cultural. Factors affecting the forest resource management is original homeland and distance from forest to residential.



Full Text:

PDF

References


จุฑามณี แสงสว่าง. (2543). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

เดช ปงคำเฟย (2544). ทัศนคติของชุมชนที่มีต่อป่าชุมชนบ้านหนองท่าควาย ตำบลนาปรัง อำเภอปรง จังหวัดพะเยา. พะเยา: สำนักงานป่าไม้จังหวัดพะเยา กรมป่าไม้.

พรทิพย์ สอนแจ่ม. (2536). พฤติกรรมการใช้นํ้าภายในครัวเรือนบริเวณลุ่มนํ้าเจ้าพระยาเพื่อการอนุรักษ์นํ้า กรณีศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

พิชญา อนันตสงศ์. (2544). รูปแบบแนวทางการจัดการในการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านแม่ลานคำ ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

มูลนิธิสืบนาคะเสถียร. (2554). สถานการณ์ป่าไม้ประเทศไทยในวาระ 21 ปี สืบ นาคะเสถียร. สืบค้นจาก http://www.seub.ot.th/index.php?option

สำนักจัดการที่ดินป่าไม้. (2552). เนื้อที่ป่าไม้ในประเทศไทยแยกตามรายภาค. สืบค้นจาก http://forestinfo.forest.go.th/55/Content.aspx?id=72

สำนักส่งเสริมการปลูกป่า. (2541). ป่าชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักส่งเสริมการปลูกป่า กรมป่าไม้.




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2014.35

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus