เศรษฐกิจชุมชนกับการเตรียมความพร้อมเพื่อนำเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรณีศึกษาคลองลัดมะยม
Abstract
การศึกษาวิจัยเรื่อง เศรษฐกิจชุมชนกับการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรณีศึกษาคลองลัดมะยม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาลักษณะเฉพาะและสภาพเศรษฐกิจชุมชนของชุมชนตลาดนํ้าคลองลัดมะยม 2) เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของชุมชนตลาดนํ้าคลองลัดมะยม 3) เพื่อศึกษาแนวทางการปรับตัวและเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของชุมชนตลาดนํ้าคลองลัดมะยม โดยอาศัยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม รวมทั้งการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมกับกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 18 คน
ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะเฉพาะชุมชนและสภาพเศรษฐกิจของชุมชนคลองลัดมะยมเป็นชุมชน “เศรษฐกิจแบบพอเพียง” โดยกลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ ความเข้าใจและสนใจในแผนการดำเนินงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจดังนี้ “การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง” และ “การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน” โดยทั้ง 2 หัวข้อใหญ่ภายใต้กรอบแนวคิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนี้มีความสัมพันธ์กับกรอบแนวคิดเศรษฐกิจชุมชนในเรื่อง “การสร้างระบบการกระจายความเข้มแข็งและความยั่งยืน” และ “การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น” จึงสรุปได้ว่า แผนการดำเนินงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่มีความเกี่ยวข้องกับชุมชนใน 2 ด้าน คือ ด้านการเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง และด้านการเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกันที่ประชาชนในชุมชนคลองลัดมะยมและชุมชนอื่นๆ ต้องมีความตระหนัก สนใจ และมีความรู้เรื่องเหล่านี้อย่างจริงจัง อีกทั้งแนวทางการปรับตัวและแนวทางการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่กลุ่มตัวอย่างเห็นว่ามีความสำคัญอย่างมาก ได้แก่ อันดับแรก คือ “ภาษา” อันดับที่สอง คือ “หน้าที่ของภาครัฐ” อันดับที่สาม คือ “การเรียนรู้การศึกษา” และ “การส่งเสริมความรู้ให้การศึกษา” และอันดับที่สี่ คือ “การเน้นเรื่องความปลอดภัยและดูแลเรื่องโรคติดต่อ”
The purposes of research on “Community Economy and Preparation Strategies for Entering ASEAN Economic Community: case study on Klong Lad Mayom Floating Market” are 1) to study the characteristic and community economy of Klong Lad Mayom Floating Market community 2) to study the preparation strategies for entering ASEAN economic community of Klong Lad Mayom Floating Market community 3) to study adjustment approaches and preparation for entering ASEAN economic community of Klong Lad Mayom Floating Market community by using qualitative research methodology, group in-depth interviews and observation without participation in 18 samples.
The researcher found that the characteristic and community economy of Klong Lad Mayom Floating Market community is “sufficient economy community”. The research show that samples consider ASEAN economic community as “the high competing capability region” and “the equally economic growth region”, which, in term of ASEAN economic community, are correlated with economic community in aspect of “strength distribution system and sustainability building” and “conservation of local knowledge”. In conclusion, ASEAN economic community establishment scheme is correlated with community in 2 point, which are the high competing capability region and the equally economic growth region that citizens in Klong Lad Mayom community and others have to realize, interested in and seriously attain the information more. Citizens need to adapt themselves as well. Samples rank the preparation strategies for entering ASEAN economic community which are no.1 “Language”, no.2 “Bureaucratic Responsibility”, no.3 “Education” and “Supportive Information” and no.4 “Focusing on security and contagious disease”
Full Text:
PDFReferences
กระทรวงการต่างประเทศ. (2552). ประเทศไทยกับอาเซียน. กรุงเทพฯ: กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี.
เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน. (2555). ตลาดนํ้าคลองลัดมะยม. สืบค้นจาก http://www.cbtthaidatabase.org/page/showpage.aspx?idindex=59
จุฑาทิพ คล้ายทับทิม. (2555). ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับ ประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย จำกัด.
ธิดารัตน์ โชคสุชาติ. (2553). ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: ความสำคัญ และการเตรียมความพร้อมของไทย. วารสาร มฉก.วิชาการ, 14(27), 99-112.
ประเวศ วะสี. (2542). เศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคม แนวทาง พลิกฟื้นเศรษฐกิจสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน.
DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2014.2
Refbacks
- There are currently no refbacks.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus