แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าชายแดน กรณีศึกษาตลาดมิตรภาพชายแดนไทย-กัมพูชา
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์ปัญหาอุปสรรคของการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณตลาดมิตรภาพชายแดนไทย-กัมพูชา 2) เพื่อศึกษาความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประชาชน บริเวณตลาดมิตรภาพชายแดนไทย-กัมพูชา 3) เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกของการค้าชายแดนไทย-กัมพูชาภายใต้ประชาคมอาเซียน และ 4) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ การศึกษาเชิงประมาณ ศึกษาจากประชาชนผู้มีส่วนได้เสียที่อาศัยอยู่ในบริเวณตลาดมิตรภาพชายแดนไทย-กัมพูชา ชุมชนบ้านคลองลึก ตำบลท่าข้าม อำเภออรัญประเทศ จำนวน 300 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ส่วนการศึกษาในเชิงคุณภาพ ใช้การวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) ผลการวิจัยพบว่า
1. การค้าชายแดนไทย-กัมพูชา มีสินค้าที่มีความหลากหลาย ทั้งสินค้าใหม่และสินค้ามือสอง ซึ่งเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ หลายระดับราคา ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี พื้นที่ที่ค้าขายนั้นมีความเหมาะสม การเดินทาง การคมนาคมขนส่ง มีความสะดวก ส่วนผู้ประกอบการส่วนมากเป็นชาวกัมพูชาที่เดินทางมาค้าขายในประเทศไทย โดยไปเช้าเย็นกลับ ปัญหาและอุปสรรคที่พบ คือ การละเมิดลิขสิทธิ์สินค้า และปัญหาด้านการจัดการด้านสิ่งอำนวยความสะดวก สาธารณูปโภคต่างๆ
2. ความพร้อมของประชาชนในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในด้านความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนพบว่า ประชาชนมีความรู้อยู่ในระดับดีมาก ส่วนความตระหนักของประชาชนต่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พบว่า ประชาชนมีความตระหนักต่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน อยู่ในระดับปานกลาง (X_=3.15, S.D.=0.76)
3. สภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกของการค้าชายแดนไทย-กัมพูชาภายใต้ประชาคมอาเซียน พบว่า มีจุดแข็งด้านทำเลที่ตั้ง ความหลากหลายของสินค้า ความเข้มแข็งของผู้ประกอบการมีศักยภาพในการแข่งขันสูง ด้านจุดอ่อนนั้น พบว่า การสื่อสารภาษาต่างประเทศของผู้ประกอบการชาวไทยยังมีน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับพ่อค้าชาวกัมพูชา การจัดการขยะ และการจัดการระบบระบายนํ้าในฤดูฝนยังไม่ดีเท่าที่ควร ด้านโอกาส ตลาดมิตรภาพชายแดนไทย-กัมพูชา มีโอกาสในการพัฒนาเป็นจุดกระจายสินค้าสู่อินโดจีนและตลาดโลก และมีโอกาสในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวชายแดน โดยผู้ประกอบการสามารถใช้เทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มศักยภาพทางการค้าได้ ด้านอุปสรรค พบว่ามีอุปสรรคทางด้านของกฎหมาย ระเบียบ วิธีปฏิบัติของการนำเข้า-ส่งออกผ่านชายแดนของทั้งสองประเทศ เนื่องจากขั้นตอนมาก และความไม่แน่นอนในวิธีการปฏิบัติของประเทศเพื่อนบ้าน
4. แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา พบว่า ควรมีการเสนอนโยบายไปยังรัฐบาล เพื่อกำหนดให้บริเวณตลาดมิตรภาพชายแดนไทย-กัมพูชาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าการค้า และดึงดูดนักลงทุนชาวไทยเข้ามาค้าขาย ควรมีการปรับปรุงเรื่องระบบภาษี และขั้นตอนการนำสินค้าเข้า-ออก ประเทศให้มีความสะดวก รวดเร็ว ควรมีการจัดแผนผังของตลาดมิตรภาพชายแดนไทย-กัมพูชาและก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มเติม เช่น สถานที่จอดรถ ห้องสุขา ศูนย์อาหาร เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวให้มีจำนวนมากขึ้น และควรมีการจัดตั้งศูนย์ประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับตลาดมิตรภาพชายแดนไทย-กัมพูชา เพื่อเป็นศูนย์อำนวยความสะดวกด้านข้อมูลให้แก่นักท่องเที่ยว
The objectives of the research were to study 1) problems and obstacles of Thailand-Cambodia border trade, 2) preparation for the entry to the ASEAN Community, 3) to analyze both internal and external environments of Thailand-Cambodia border trade under the ASEAN Community and 4) to study the guidelines for an economic development of Thailand-Cambodia border trade. The present work was quantitative and qualitative. The samples were 300 residents who dwelled in the confines of the Thailand-Cambodia border trade friendship market of Tambon Takham in Aranyaprathet district. Data were collected from September-October, 2012. The research instrument was the questionnaire. Statistics used were frequency, percentage, mean, standard deviation and content analysis. As for the qualitative part, the work was based on documents and interviews.
The research findings were as follows.
1. The Thailand-Cambodia border trade friendship market boasted a variety of goods which were new and second hand ones. The price of goods varied depending on the customers’ demands. A majority of entrepreneurs were mainly Cambodians who crossed the border daily to trade their goods. The location or market place was relatively suitable. Transportation was convenient. The problems found were a violation of the trade rights, facilities and infrastructures.
2. Regarding the preparation for ASEAN, it was found that the locals had a good level of knowledge on ASEAN Community. Their awareness of entering the Community was moderate.
3. Considering the environments, it was found that the border trade market in question had strength of location, a wide variety of goods, and strength of entrepreneurs. As regards the weak points, On the weakness, it was found that Thai traders had an ability at a low level to communicate in a foreign language as compared to their Cambodian counterparts. Garbage management was not systematic. On an opportunities, the cross-border market had a potential to be a center from where goods can be distributed to Indo-China and the global market. As for the obstacles, it was found that they were found in respect of laws, regulations, and other practices on exports and imports through the border of both countries. There could be huge impacts on the buying and selling process.
4. Given the Thai-Cambodian cross border trade, it was found that the policy should be presented to the government to make the place as the special economic zone in order to increase the trade volumes and lure Thai investors. The tax system and the import-export steps should be adjusted to make it more convenient. Other relevant facilities should be improved to accommodate the tourists.
Full Text:
PDFReferences
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2556). รายงานผลการสำรวจข้อคิดเห็น เกี่ยวกับทัศนคติเกี่ยวกับการรับรู้เรื่องอาเซียน. สืบค้นจาก www.moac.go.th.
จังหวัดสระแก้ว. (2553). รายงานการศึกษา “โครงการพัฒนาโครงข่าย ด้านโลจิสติกส์ เชื่อมโยงระหว่างกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2553 (กิจกรรมศึกษาความเหมาะสมและการออกแบบใน การจัดตั้งสถานีขนถ่ายสินค้า). มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
นพพัสสร มาเทียน. (2549). การศึกษาเรื่องประวัติการค้าชายแดนไทย- กัมพูชา ด้านจังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษา มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศุพิสรา โกอินต๊ะ. (2552). ศึกษาเรื่อง การค้าชายแดนและธุรกิจแลก เปลี่ยนเงินตราในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.
สำนักงานจังหวัดสระแก้ว. (2554). ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสระแก้ว (พ.ศ.2554-2556). จังหวัดสระแก้ว: ช.ดำรงชัยการพิมพ์.
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดสระแก้ว. (2555). รายงานสถิติมูลค่าการค้า ปี 2556. (เอกสารอัดสำเนา)
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว. (2556). รายงานสรุปองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดสระแก้ว เรื่อง ผลการดำเนินงานการตลาดโรงเกลือ พ.ศ.2556. จังหวัดสระแก้ว. (อัดสำเนา).
AEC ศูนย์ข้อมูลความรู้ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. (2556). ความได้ เปรียบเสียเปรียบไทยใน AEC. สืบค้นจาก http://www.thai- aec.com/catagory/thai-advantage-adverse-aec/
DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2014.3
Refbacks
- There are currently no refbacks.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus