กลยุทธ์การพัฒนาการจัดการความรู้ของสถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา (สคบศ.) เพื่อรองรับสู่ประชาคมอาเซียน

วรนุช สาเกผล

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์เกี่ยวกับการจัดการความรู้ ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจัดการความรู้ของ สคบศ. เพื่อรองรับสู่ประชาคมอาเซียน 2) วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและภายในที่ส่งผลต่อการพัฒนาการจัดการความรู้ของ สคบศ. เพื่อรองรับสู่ประชาคมอาเซียน 3) กำหนดกลยุทธ์การพัฒนาการจัดการความรู้ของ สคบศ. เพื่อรองรับสู่ประชาคมอาเซียน วิธีการศึกษาดำเนินการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือ ข้าราชการ สังกัด สคบศ. จำนวน 65 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ หัวหน้ากลุ่มและหัวหน้าภาค สังกัด สคบศ. จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุปและการบรรยาย จากนั้นนำข้อมูลไปเรียงลำดับเพื่อคัดเลือกปัจจัยที่สำคัญและนำไปจับคู่ เพื่อกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาการจัดการความรู้ของ สคบศ. เพื่อรองรับสู่ประชาคมอาเซียน หลังจากนั้นนำกลยุทธ์ที่ได้ไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนและยุทธศาสตร์ จำนวน 3 คน ด้านการจัดการความรู้ จำนวน 3 คน และด้านประชาคมอาเซียน จำนวน 3 คน รวมทั้งสิ้น 9 คน ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์
ผลการวิจัยพบว่า สภาพการณ์การจัดการความรู้ของ สคบศ. เพื่อรองรับสู่ประชาคมอาเซียนในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายข้อโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย พบว่า สคบศ. มีช่องทางให้บุคลากรสร้างและแสวงหาความรู้มากที่สุด มีคลังความรู้ที่สำคัญและจำเป็นต่อการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายน้อยที่สุด สภาพแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลต่อการพัฒนาการจัดการความรู้ของ สคบศ. เพื่อรองรับสู่ประชาคมอาเซียนที่เป็นโอกาส คือ 1) รัฐกำหนดให้ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้เพียงพอ 2) ครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องการพัฒนาตนเองและนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อรองรับสู่ประชาคมอาเซียน 3) เทคโนโลยีมีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ 4) ระบบเครือข่ายและการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารมีประสิทธิภาพและเหมาะสม 5) งบประมาณที่รัฐจัดสรรให้มีในส่วนที่เป็นอุปสรรค คือ 1) ค่านิยมในสังคมไทยมีความแตกต่างทางด้านความคิดเห็นและไม่ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น 2) การปรับเปลี่ยนรัฐมนตรีหรือผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ ทำให้นโยบายขาดความต่อเนื่อง 3) การปรับราคาค่าวัสดุ/ครุภัณฑ์สำหรับใช้ในการปฏิบัติงานสูงขึ้น สภาพแวดล้อมภายในที่ส่งผลต่อการพัฒนาการจัดการความรู้ของ สคบศ. เพื่อรองรับสู่ประชาคมอาเซียนที่เป็นจุดแข็ง คือ 1) โครงสร้างองค์กรมีการกำหนดสายการบังคับบัญชาไว้อย่างชัดจน 2) มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการจัดการความรู้ 3) ผู้บริหารส่งเสริมสนับสนุนให้มีการพัฒนาการจัดการความรู้เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 4) บุคลากรต้องการให้ดำเนินการพัฒนาการจัดการความรู้ให้มีประสิทธิภาพ 5) โครงสร้างองค์กรมีความยืดหยุ่นและเหมาะสม 6) ผู้บริหารมีการมอบหมายงานและกำหนดแนวปฏิบัติในการจัดการความรู้ไว้อย่างชัดเจน 7) บุคลากรต้องการพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานและเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในส่วนของจุดอ่อน คือ 1) ขาดระบบติดตามและการนำผลการประเมินโครงการ/กิจกรรมการจัดการความรู้ไปใช้ในการปรับปรุงหรือพัฒนาการปฏิบัติงาน 2) วัฒนธรรมของคนในหน่วยงานส่วนใหญ่ยึดมั่นในความรู้และความคิดเห็นของตนเอง 3) บุคลากรยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอน กระบวนการในการจัดการความรู้และการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
กลยุทธ์การพัฒนาการจัดการความรู้ของ สคบศ. เพื่อรองรับสู่ประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย 1) พัฒนาประสิทธิภาพการจัดการความรู้ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) ถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้รองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 3) พัฒนาระบบการติดตามและประเมินผลเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการจัดการความรู้อาเซียน 4) พัฒนาบุคลากรด้านการจัดการความรู้และเสริมสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้สู่อาเซียน 5) จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการจัดการความรู้ 6) ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์องค์ความรู้อาเซียนผ่านช่องทางที่หลากหลายและทันสมัย ผลการประเมินกลยุทธ์การพัฒนาการจัดการความรู้ของ สคบศ. เพื่อรองรับสู่ประชาคมอาเซียนตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน พบว่า กลยุทธ์การพัฒนาการจัดการความรู้ของ สคบศ. เพื่อรองรับสู่ประชาคมอาเซียนในภาพรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก

The research aims to 1) study the situation of the knowledge management, problems and strategies for developing the knowledge management of NIDTEP as preparation for ASEAN Community. 2) analyze internal and external environmental factors that affect the development of the knowledge management of NIDTEP as preparation for ASEAN Community. 3) formulate the strategies for developing the knowledge management of NIDTEP as preparation for ASEAN Community. This research applied both qualitative and quantitative research methods. Using questionnaires, the data was collected from 65 officials from NIDTEP and then was analyzed by using various statistical tests: frequency, percentage, mean, and standard deviation as well as the content analysis for qualitative method, the key participants were 10 heads of the divisions and departments of NIDTEP. The research instrument was the structure interview. In terms of the analysis processes, the findings were described and concluded, then they were coded and ranked in order to select the important factors which were paired. These factors were used to formulate the strategies for developing the knowledge management of NIDTEP as preparation for ASEAN Community. Then, 9 experts: 3 experts in the field of strategy planning, 3 experts in the field of knowledge management and the last 3 experts in the field of ASEAN community; evaluated the suitability and feasibility of these strategies.
The research found that the situation of the knowledge management of NIDTEP as preparation for ASEAN Community was fair, that is NIDTEP provides the most opportunities for teachers, faculty and staff and education personnel to build and acquire knowledge but provides the least knowledge sources which important and necessary for support their works.
The external environmental factors provide opportunities for the development of the knowledge management of NIDTEP as preparation for ASEAN Community: 1) the Government prescribes that the public sectors, as the organization for learning, have responsibilities for knowledge development. 2) teachers, faculty and staff and education personnel want to improve themselves and use knowledge for their works as preparation for ASEAN Community. 3) efficient and modern technology. 4) efficient and suitable information network systems. 5) sufficient budget allocated from the Government. In terms of obstacles: 1) Thai social value which rejects thinking diversity. 2) lacking of continuity of policy due to frequent change of the ministers and administrators of the Ministry of Education. 3) The cost of materials/equipment for higher performance.
The internal environmental factors considered as strength for the development of the knowledge management of NIDTEP as preparation for ASEAN Community are that: 1) the structure of the organization has obvious chain of command. 2) the environment supports the knowledge management. 3) the organization structure is flexible and suitable. 4) the administrators support for developing the knowledge management as preparation for ASEAN Community. 5) the education personnel want the efficient knowledge management. 6) the administrators clearly assign works and set guidelines for knowledge management. 7) the education personnel want to develop their knowledge and skills which are necessary for their work as preparation for ASEAN Community. In terms of the weakness: 1) lacking of the following and evaluation system for enhancing efficiency of knowledge management. 2) most of the staffs in the organization strict on their own knowledge and opinions. 3) the staffs lack of knowledge and understanding regarding the processes of the knowledge management of NIDTEP as preparation for ASEAN Community.
The strategies for developing the knowledge management of NIDTEP as preparation for ASEAN Community consist of : 1) enhancing the efficiency of knowledge management using the information technology system. 2) transmitting and exchanging knowledge as preparation for ASEAN Community. 3) developing the following and evaluation system for enhancing efficiency of knowledge management for ASEAN. 4) Personnel development for knowledge management and learning culture. 5) building the knowledge management center. 6) promoting the advertisement of ASEAN knowledge through various modern channels.
According to the evaluation of 9 experts, the suitability and feasibility of the strategies for developing the knowledge management of NIDTEP as preparation for ASEAN Community were in the high level.


Full Text:

PDF

References


วันทนา เมืองจันทน์ และคณะ. (2548). การจัดการความรู้ในสถานศึกษา. นครปฐม: สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา.

สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา และมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (2551). “ยุทธศาสตร์การพัฒนา ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2552-2555”. สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). แนวทางการ บริหารจัดการความเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ. (2552). การศึกษา: การสร้างประชาคม อาเซียน 2558. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). การบรรยายทางวิชาการ เพื่อสร้างความตระหนัก เรื่อง การก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ( พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และสถาบันเพิ่มผลผลิต แห่งชาติ. (2548). คู่มือจัดทำแผนการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

สมยศ นาวีการ. (2544). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เอกชัย บุญยาทิษฐาน. (2553). คู่มือวิเคราะห์ SWOT อย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: ส. เอเชียเพรส.




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2014.1

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus