E-Learning: การใช้และความต้องการของอาจารย์และนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

พิเชษฐ เพียรเจริญ

Abstract


การวิจัยเรื่องนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการใช้และความต้องการ E-Learning ของอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงการให้บริการ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นอาจารย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จำนวน 67 คน และนักศึกษา จำนวน 430 คน ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์และนำเสนอในรูปแบบของร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยสรุปได้ว่า
สภาพการใช้ E-Learning ของอาจารย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี พบว่า อาจารย์ ใช้ E-Learning จำนวนมากกว่า 10 ครั้งต่อสัปดาห์ ร้อยละ 64.17 ใช้ในเวลา 22.01 น. เป็นต้นไป ร้อยละ 44.70 จำนวน 10 ชั่วโมงขึ้นไป ต่อสัปดาห์ ร้อยละ 52.15 นำไปใช้ในลักษณะสื่อเสริมสถานที่ใช้คือหน่วยคอมพิวเตอร์ของคณะ/ภาควิชา (X=4.06) โดยการแจ้งให้นักศึกษาทราบถึงการใช้ในชั้นเรียน (X=4.87) วิธีการจูงใจโดยมีบทเรียนให้ Download (X=4.13) การเข้าใช้งานในส่วนของการจัดระบบบริหารจัดการเรียนรู้ ใช้งานในส่วนแหล่งข้อมูล (Resource) (X=4.01) ความต้องการใช้ E-Learning ของอาจารย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี พบว่า มีความต้องการระดับมาก โดยต้องการการฝึกอบรมในเรื่องความรู้เกี่ยวกับ E-Learning (X=4.69) ต้องการมีเครื่องคอมพิวเตอร์ไห้เพียงพอและทันสมัย (X=4.18) มีบุคลากรและหน่วยงานที่จะส่งเสริมและพัฒนา E-Learning (X=3.99)

สภาพการใช้ E-Learning ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี พบว่า นักศึกษาใช้ E-Learning มีความถี่ จำนวน 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ร้อยละ 61.20 น. ใช้เวลา 12.01-16.00 น. ร้อยละ 31.90 จำนวนเวลาที่ใช้ต่อสัปดาห์ 1-3 ชั่วโมง ร้อยละ 59.10 สถานที่ใช้ศูนย์คอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยมากที่สุด (X=4.75) โดยรับทราบการแจ้งถึงการใช้ในชั้นเรียน (X=4.10) การเข้าใช้งานของระบบบริหารจัดการเรียนรู้ LMS: Learning Management System ใช้ในส่วนการบ้าน (Assignment) มากที่สุด (X=3.89) ความต้องการการใช้ E-Learning ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี พบว่า มีความต้องการการฝึกอบรมในเรื่องการใช้งานอินเทอร์เน็ต (X=3.95) ข้อเสนอแนะต่อการใช้ E-Learning ของอาจารย์ และนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี พบว่า ให้มีการจัดทำเอกสารคู่มือการใช้ แจกจ่ายผู้ใช้ คณะ หน่วยงาน ปรับปรุงคุณภาพของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ให้มีความรวดเร็ว และติดต่อสะดวก เพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อพ่วงที่ทันสมัย และเพียงพอ มีผู้รับผิดชอบจัดทำ E-Learning กระตุ้น และเผยแพร่ความรู้แก่อาจารย์และนักศึกษา ให้มีความรู้ในการเรียนการสอนสอน วิชาการต่างๆ จัดการฝึกอบรมการบรรยายสาธิตตัวอย่างแบบการเรียนการสอน มีข่าวสารและการประชาสัมพันธ์เพิ่มขึ้น

คำสำคัญ E-Learning, การใช้, ความต้องการ


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus