การวิจัยกับบทบาทที่เปลี่ยนไปของบรรณารักษ์ยุคดิจิทัล

ธมลวรรณ ขุนไพชิต

Abstract


ในปัจจุบันความรู้ในศาสตร์สาขาวิชาต่างๆ หรือในด้านวิชาชีพต่างๆ ได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดการพัฒนาความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ ก็คือ การศึกษาค้นคว้าวิจัยอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้การวิจัยช่วยให้มนุษย์ได้ค้นพบองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น เพราะการวิจัยคือ หัวใจของการพัฒนา ทั้งพัฒนาตน พัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กร คำว่าวิจัย ตรงกับภาษาอังกฤษ ว่า Research มีรากศัพท์เดิมมาจากภาษาฝรั่งเศสคำว่า Re + Cerchier ซึ่งมีความหมายว่า การค้นซ้ำ เป็นการค้นหาคำตอบเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่น การวิจัยเป็นกระบวนการค้นคว้าและพัฒนาองค์ความรู้ที่มีระบบแบบแผนตามแนวทางของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ การวิจัยเป็นเครื่องมือสำคัญของการเรียนรู้ การสร้างความรู้ การสร้างศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในฐานะเป็นทุนทางปัญญา

วิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก อันเกิดจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทำให้โลกก้าวเข้าสู่สังคมยุคดิจิทัล เกิดการปรับเปลี่ยนในวิชาชีพและบทบาทอย่างกว้างขวาง โดยมีการวิจัยเป็นรากฐานที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาวิชาชีพให้ก้าวหน้าและยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงในสังคมและการปรับกระบวนทัศน์ ในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ทำให้บรรณารักษ์จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนบทบาท ความรู้ ความสามารถให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะบทบาทและศักยภาพทางด้านการวิจัย ทั้งในฐานะผู้บริการการวิจัย ผู้ใช้ผลการวิจัย ผู้สอนการวิจัยและนักวิจัย อันจะช่วยส่งเสริมความสำคัญ บทบาทและสถานภาพของบรรณารักษ์และวิชาชีพในชุมชนบริการ สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus