การบูรณาการเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก

โสภาพันธ์ สอาด, ตวงรัตน์ ศรีวงษ์คล, ปรัชญนันท์ นิลสุข

Abstract


ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ สถานศึกษาต่าง ๆ ทั่วโลกให้ความสนใจในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน มีการจัดระบบการสอนบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ นำมาใช้เป็นสื่อการสอนร่วมกับระบบการเรียนการสอนแบบเดิม บางสถาบันเสนอเป็นหลักสูตรการสอนแบบผ่านเครือข่ายเต็มรูปแบบ และให้วุฒิบัตรเมื่อผ่านการเรียนจบหลักสูตร มหาวิทยาลัยออนไลน์ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่กำลังเป็นที่สนใจกันอย่างมากทั้งจากสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน

การจัดระบบการสอนบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์จัดเป็นระบบการศึกษาทางไกลที่เปิดกว้าง ส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมกันทางการศึกษา ผู้เรียนที่ศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาในภูมิภาค หรือในประเทศหนึ่งสามารถที่จะศึกษา ถกเถียง อภิปราย กับอาจารย์ ครูผู้สอน ซึ่งสอนอยู่ที่สถาบันการศึกษาในนครหลวง หรือในต่างประเทศก็ตาม ส่งเสริมแนวคิดในเรื่องของการเรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถเข้ามาค้นคว้าหาความรู้ได้อย่างต่อเนื่อง และตลอดเวลาการสอนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถตอบสนองต่อผู้เรียนที่มีความใฝ่รู้ รวมทั้งมีทักษะในการตรวจสอบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Meta-cognitive Skills) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น ยังช่วยทลายกำแพงของห้องเรียนและเปลี่ยนจากห้องเรียน 4 เหลี่ยม ไปสู่โลกกว้างแห่งการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่างๆ ได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพสนับสนุนสิ่งแวดล้อมทางการเรียนที่เชื่อมโยงสิ่งที่เรียนกับปัญหาที่พบในความเป็นจริงโดยเน้นให้เกิดการเรียนรู้ตามบริบทในโลกแห่งความเป็นจริง (Contextualization) และการเรียนรู้จากปัญหา (Problem-based Learning) ตามแนวคิดแบบ Constructivism (ถนอมพร, 2544)


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus