เรียนรู้และแบ่งปัน: ประสบการณ์จากการสำรวจหนังสือในห้องสมุด

เบญจา รุ่งเรืองศิลป์

Abstract


หอสมุดกลาง สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เริ่มดำเนินงานเตรียมความพร้อมสู่การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้นข้อมูลมาตั้งแต่ปี 2531-2534 อันเป็นระยะแรกของ โครงการพัฒนาระบบข่ายงานห้องสมุดในจุฬาฯ หอสมุดกลางได้ดำเนินงานสำรวจสิ่งพิมพ์ครั้งใหญ่ และเตรียมการบันทึกข้อมูลรายการหนังสือลงในฐานข้อมูลห้องสมุด ในระยะที่ 2 ปี 2535-2537 เครือข่ายสารสนเทศดังกล่าวประสบความสำเร็จ พร้อมเปิดให้บริการได้ในปี 2537 เป็นต้นแบบระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่สมบูรณ์แบบแห่งแรก ของประเทศไทย ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศจากฐานข้อมูลห้องสมุดผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างไม่จำกัดเวลาและสถานที่ สร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้บริการเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบันหอสมุด กลางมี collection สิ่งพิมพ์มากกว่า 4 แสนรายการ ซี่งได้รับการจัดเก็บและดูแลอย่างเป็นระบบ สิ่งพิมพ์ในระบบชั้นเปิดจะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถค้นหาตัวเล่มได้ตามที่สืบค้นจากฐานข้อมูลห้องสมุด พบว่าการใช้สิ่งพิมพ์ในห้องอ่านหนังสือสาขาต่างๆ มีจำนวนมากกว่า 15,000 เล่มต่อสัปดาห์ ทำให้เกิดการหมุนเวียนการใช้งานออกไปจากชั้นสิ่งพิมพ์ตลอดเวลา บางครั้งสิ่งพิมพ์ไม่ได้อยู่บนชั้นตามระบบหมวดหมู่ที่กำหนดไว้ บางครั้งการให้บริการช่วยค้นหาสิ่งพิมพ์ (F-RS-07) ไม่พบตัวเล่มที่ต้องการ ที่สำคัญนับจากช่วงเวลาที่ได้มีการใช้งานระบบห้องสมุดอัตโนมัติไปได้ระยะหนึ่งแล้ว ควรมีการสำรวจทรัพยากรสารสนเทศประเภทสิ่งพิมพ์อีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ทรัพยากรสารสนเทศที่นำออกให้บริการ มีความถูกต้องตามสถานภาพที่ปรากฏในฐานข้อมูลห้องสมุดอย่างสมบูรณ์ ครบถ้วน ตัวเล่มสิ่งพิมพ์จะได้รับการจัดเก็บเป็นระบบอย่างถูกต้อง เช่น สารสนเทศรายการใดที่มีการยืมออก จะต้องมีความชัดเจนอยู่ในโปรแกรมห้องสมุดรายการใดที่ชำรุด ควรได้รับการซ่อมแซมอย่างสม่ำเสมอ และตรวจสอบรายการที่สูญหายไปอย่างละเอียด ซึ่งจะลดความสูญเปล่าทั้งด้านงบประมาณ ประโยชน์ใช้สอยในพื้นที่ ปริมาณงาน และปริมาณเวลาการทำงานของบุคลากรที่เกี่ยว ข้อง ดังนั้น ในเดือนพฤษภาคม 2550 หอสมุดกลางจึงจัดทำโครงการสำรวจทรัพยากรสารสนเทศประเภทสิ่งพิมพ์ของหอสมุดกลางประจำปี 2550 ขึ้น อันเป็นแนวทางหนึ่งในการเสริมสร้างองค์ความรู้ การพัฒนาคุณภาพ และเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการแก่ประชาคมจุฬาฯ และผู้ใช้บริการทั้งหลาย ก่อให้เกิดการการดำเนินงานต้นแบบแก่ห้องสมุดในเครือข่ายจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการสำรวจทรัพยากรสารสนเทศ โดยใช้โปรแกรมห้องสมุดที่พัฒนาขึ้นใช้งานเอง ตลอดจนบุคลากรของหอสมุดกลางได้แสดงพลังแห่งความสามัคคีในกิจกรรมขององค์กร


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus