การใช้ชุดฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ดอกสร้อยสุภาษิต เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลปัตตานี

เตือนใจ จันทร์ไสย์

Abstract


การศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษามีวัตถุประสงค์การศึกษา ดังนี้ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนดอกสร้อยสุภาษิต 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ระหว่างก่อน และหลังการใช้กิจกรรม ชุดฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนดอกสร้อยสุภาษิต และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำแนกตามความสามารถทางการเรียนของนักเรียน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3 โรงเรียนอนุบาลปัตตานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต 1 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 45 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purpose Sampling) แบ่งตามความสามารถทางการเรียนของนักเรียน คือ กลุ่มเก่ง 12 คน กลุ่มปานกลาง 19 คน และกลุ่มอ่อน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) ชุดฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ดอกสร้อยสุภาษิตเพื่อพัฒนานักเรียนที่มีปัญหาด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน โดยเฉพาะการสรุปสาระสำคัญจากบทกลอนต่างๆ จำนวน 16 ชุดฝึก 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ดอกสร้อยสุภาษิต มี 4 ตอน คะแนน 40 คะแนน ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบทดสอบเลือกตอบ แล้วสรุปสาระสำคัญ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วย เรียนรู้วรรณคดีไทยนำไปคิดวิเคราะห์และเขียนจำนวน 16 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง ทำการหาค่าประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะ ค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน เท่ากับ 80/80 วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าร้อยละ (Percent) ค่าเฉลี่ย (X) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One - way ANOVA) หาค่าเอฟ (F-test) และหาค่าความแตกต่างรายคู่ตามวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการศึกษา พบว่า

1. ชุดฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนดอกสร้อยสุภาษิต ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.31/81.83 ซึ่ง สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้

2. นักเรียน มีทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน หลังการใช้กิจกรรมชุดฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนดอกสร้อยสุภาษิต โดยภาพรวม สูงกว่าก่อนใช้แบบฝึกทักษะ เมื่อทำการทดสอบนัยสำคัญทางสถิติ พบว่า ได้ค่าที (t-test) แตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ พบว่า หลังการใช้กิจกรรมชุดฝึกทักษะนักเรียนมีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนสูงขึ้นทุกกลุ่ม 

3. เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยรายคู่ การอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน จำแนกตามความสามารถทางการเรียนของนักเรียน พบว่า ทุกคู่มีความแตกต่างกัน โดยคะแนนเฉลี่ยกลุ่มเก่งมากกว่ากลุ่มปานกลาง คะแนนเฉลี่ยกลุ่มเก่งมากกว่ากลุ่มอ่อน และคะแนนเฉลี่ยกลุ่มปานกลางมากกว่ากลุ่มอ่อน


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus