สมบัติ จันทรวงศ์: กับบทวิเคราะห์การศึกษาทางการเมือง ในงานเขียนประเภทนิทานของสุนทรภู่
Abstract
การศึกษาของสมบัติ จันทรวงศ์ ครั้งนี้มีประเด็นการศึกษาที่สำคัญอยู่สองส่วน คือ ส่วนแรกเป็นการศึกษาการสะท้อนลักษณะ และความนึกคิดเกี่ยวกับการเมืองของสังคมไทยในสมัยของสุนทรภู่ และส่วนที่สองเป็นการศึกษามโนคติหรือความคิดส่วนตัวของกวี
สมบัติ จันทรวงศ์ สนใจที่จะศึกษาทางการเมืองที่ปรากฏในงานของสุนทรภู่นั้นมีลักษณะที่แตกต่างจากการศึกษาทางการเมืองในงานเขียนประเภทนิทานในสมัยโบราณ ที่มีแต่การแสวงหาอาวุธวิเศษ และศิลปะในการสู้รบ ส่วนงานเขียนประเภทนิทานของสุนทรภู่บางเรื่อง เช่น พระอภัยมณี และงานที่เขียนขึ้นในช่วงหลังเป็นการศึกษาในเรื่อง "วิสัย" ก่อนที่จะกล่าวถึงประเด็นอื่น ผู้เขียนขอกล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้เขานำงานเขียนประเภทนิทานของสุนทรภู่มาศึกษา ว่ามี 4 ประการ คือ สุนทรภู่เป็นทั้งกวีและผู้อยู่ใต้ปกครอง จึงน่าจะสร้างงานที่แสดงภาพความคิดอ่านของสังคมไทยในสมัยนั้นได้ดี และกว้างกว่าที่อื่นที่เป็นชนชั้นสูง งานของสุนทรภู่ได้รับความนิยมจากชนทุกชั้นทุกสมัย กลอนของสุนทรภู่ง่ายต่อการศึกษาเมื่อเทียบกับโคลง ฉันท์ หรือคำประพันธ์ของกวีท่านอื่น และสุนทรภู่น่าจะเป็นตัวแทนของคนต้นรัตนโกสินทร์ได้หาก "ความนึกคิดและภาษาของคนไทยสมัยปลายอยุธยากับต้นรัตนโกสินทร์ยังคงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเป็นส่วนใหญ่" (สมบัติ จันทรวงศ์, 2519 : 107) เหตุประการสุดท้ายของสมบัติ จันทรวงศ์ มีส่วนที่น่าสังเกตบางประการ คือ ทำให้น่าสงสัยว่าการเป็นตัวแทนของคนต้นรัตนโกสินทร์ยังคงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ตรงส่วนนี้น่าจะวิเคราะห์ถึงเจตนาของสมบัติ จันทรวงศ์ ที่กล่าวไว้เช่นนี้ได้ว่าเจตนาของสมบัติ จันทรวงศ์ คือ ถ้าแนวคิดของคนในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เป็นแนวคิดที่สืบต่อจากแนวคิดของคนในสมัยอยุธยาตอนปลาย และถ้าสุนทรภู่เป็นตัวแทนของคนในสมัย
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus