การพัฒนาโรงเรียนให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ : แนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม

สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์

Abstract


ปัจจุบันโรงเรียนทุกแห่งพยายามเพิ่มคุณภาพการบริหารโรงเรียนให้สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษาแต่ตามปกติโรงเรียนโดยทั่วไปไม่สามารถพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพการบริหารตามที่ต้องการได้ ต้องมีองค์ประกอบที่จะทำให้โรงเรียนมีการเปลี่ยนแปลง องค์ประกอบดังกล่าวคือ\กิจกรรมที่จะส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ของบุคลากร (Padler, Burgogyne, Boydell,1997) เพื่อให้สามารถแข่งขันกับโรงเรียนอื่นๆ และแข่งขันกับตนเองให้บรรลุตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาที่กำหนด คือต้องทำงานให้มีประสิทธิภาพ ต้องเรียนรู้ได้รวดเร็วกว่าโรงเรียนอื่น ๆ (O’Keeffe, 2002) ด้วยการสร้างพื้นฐานในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของโรงเรียนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ โดยผู้บริหารโรงเรียนในฐานะผู้นำในการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียน ต้องพยายามหากิจกรรมในการพัฒนาบุคลากร หากบุคลากรเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้แล้ว โรงเรียนก็จะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (learning organization) 

องค์การแห่งการเรียนรู้ หมายถึง องค์การที่เปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนในองค์การได้แสดงความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่และอย่างต่อเนื่อง เพื่อร่วมกันสร้างผลลัพธ์ที่องค์การต้องการโดยองค์การสนับสนุนให้สมาชิกทุกคนได้คิดใหม่ ได้ทำงานร่วมกันและเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน สร้างองค์ความรู้เป็นเอกลักษณ์ให้องค์การ (วิฑูรย์ สิมะโชคดี,2543) องค์การแห่งการรเรียนรู้เป็นองค์การที่รักษาองค์ความรู้เกี่ยวกับผลผลิตและกระบวนการผลิต รับทราบการเปลี่ยนแปลงของชุมชนและสังคม เมื่อพบปัญหาก็แก้ปัญหาโดยใช้องค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์การ (Argyris, 1999) องค์การแห่งการเรียนรู้ เป็นองค์การที่สมาชิกได้พัฒนาขยายขีดความสามารถของตนเอง เพื่อสร้างสรรค์งานและดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง เป็นองค์การที่กระตุ้นให้สมาชิกมีแนวคิดแปลกๆ ใหม่ๆ


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus