การวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการใช้ครุภัณฑ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วนันยา หมัดยูโส๊ะ, กานต์พิชชา ฤทธิพฤกษ์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคุ้มค่าในการใช้ครุภัณฑ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการงานด้านครุภัณฑ์จากผู้ที่เกี่ยวข้อง 3 กลุ่ม คือ ผู้บริหาร ผู้ใช้งานครุภัณฑ์และผู้ดูแลครุภัณฑ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานเงินรายได้และลูกจ้างประจำของคณะฯ จำนวน 198 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัยและใช้สถิติในการวิเคราะห์ผลข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมถึงวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการใช้ครุภัณฑ์ที่ซื้อมาในปีงบประมาณ 2545-2549 จำนวน 1,827 รายการ และนำผลการศึกษามาใช้ประโยชน์ในการจัดการและบริหารการใช้ครุภัณฑ์ และการบริหารงบประมาณของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 

ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านผู้บริหาร 1.1 ลักษณะการบริหารงาน คะแนนเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก (X=4.10) ให้ความสำคัญในช่วงของการจัดทำงบประมาณ มีการสำรวจความต้องการในการจัดตั้งรายการครุภัณฑ์และมีการจัดลำดับความสำคัญของครุภัณฑ์ในการจัดหา 1.2 การจัดการครุภัณฑ์ คะแนนเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก (X=4) ให้ความสำคัญเกี่ยวกับครุภัณฑ์ด้านการเรียนการสอน 2) ผู้ใช้ครุภัณฑ์ คะแนนเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก (X=4.24) ให้ความสำคัญในด้านความจำเป็นในการใช้งาน 3) ผู้ดูแลครุภัณฑ์ คะแนนเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก (X=4.38) ให้ความสำคัญในด้านการตรวจสอบความพร้อมก่อนใช้งานทุกครั้ง 4) ความคุ้มค่าในการใช้ครุภัณฑ์งานด้านการเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการ จากจำนวนครุภัณฑ์ 1,034 รายการมีการใช้งานครุภัณฑ์ร้อยละของจำนวนชั่วโมง ใช้งานเทียบมาตรฐานคือ 8 ชั่วโมง/วัน/ 5 วัน/สัปดาห์ หรือ 1,200 ชั่วโมงต่อปี เฉลี่ยเท่ากับ 783.7 ชั่วโมงต่อปี คิดเป็นร้อยละ 65.3 ซึ่งเป็นการใช้งานที่ยอมรับได้ว่าเกินกว่าใช้งานปกติ (มากกว่าร้อยละ 50) หากคำนวณจำนวนชั่วโมง การใช้งานจริงในระบบการจัดการเรียนการสอนของคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่กำหนดไว้ เป็นเวลา 6 ชั่วโมง/วัน 5 วัน/สัปดาห์ หรือ 900 ชั่วโมงต่อปี เฉลี่ยจำนวนชั่วโมงที่ใช้เท่ากับ 783.7 ชั่วโมงต่อปี คิดเป็นร้อยละ 87.08 ซึ่งเป็นการใช้งานที่ถือได้ว่าเกินการใช้งานปกติมาก นับว่ายิ่งใช้งานเกินคุ้มค่า 5) การใช้ครุภัณฑ์งานด้านการบริหาร จากครุภัณฑ์ 793 รายการ มีการใช้งานครุภัณฑ์ร้อยละของจำนวนชั่วโมงใช้งานเทียบมาตรฐาน คือ 8 ชั่วโมง/วัน 5 วัน/สัปดาห์ หรือ 1,968 ชั่วโมงต่อปี เฉลี่ยเท่ากับ 1,595.8 ชั่วโมงต่อปี คิดเป็นร้อยละ 81.1 หากคำนวณจำนวนชั่วโมงการใช้งานจริง เป็น 7 ชั่วโมง/วัน 5 วัน/สัปดาห์ หรือ 1,722 ชั่วโมงต่อปี เฉลี่ยจำนวนชั่วโมงที่ ใช้งานเท่ากับ 1,595.8 ชั่วโมงต่อปี คิดเป็นร้อยละ 92.67 เป็นการใช้งานเกือบร้อยละร้อย เมื่อเทียบกับชั่วโมงมาตรฐานแล้วก็นับว่าใช้คุ้มค่ามาก


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus