ผลการดำเนินงานการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ตามการรับรู้ของบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี

ธีรพงศ์ บูรณวรศิลป์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของผลการดำเนินงานการบริหารทรัพยากรมนุษย์และผลการดำเนินงานของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี ตัวแปรผลการดำเนินงานการบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้ศึกษาจากองค์ประกอบ 7 ด้าน ดังนี้ (1) การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ (2) การสรรหา (3) การคัดเลือก (4) การฝึกอบรมและการพัฒนา (5) การประเมินผลการปฏิบัติงาน (6) การให้สิทธิประโยชน์ ค่าตอบแทน สวัสดิการและวินัย (7) การธำรงรักษาทรัพยากรมนุษย์ และตัวแปร ผลการดำเนินงานองค์การ ศึกษาจากองค์ประกอบ 4 มุมมอง ดังนี้ (1) มุมมองด้านผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภายนอกองค์การ (2) มุมมองด้านองค์ประกอบภายในองค์การ (3) มุมมองด้านนวัตกรรม (4) มุมมองความคุ้มค่าการบริหารการเงิน โดยศึกษาจากประชากรที่เป็นข้าราชการและพนักงานราชการของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี จำนวน 109 คน ใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน(Pearson's Product Moment Correlation)

ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการดำเนินงานการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรีโดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง 2. ผลการดำเนินงานของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรีโดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยจัดอยู่ในระดับปานกลาง 3. ผลการดำเนินงานการบริหารทรัพยากรมนุษย์และผลการดำเนินงานองค์การของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรีมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับค่อนข้างสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

คำสำคัญ: ผลการดำเนินงานการบริหารทรัพยากรมนุษย์, ผลการดำเนินงานองค์การ, การรับรู้, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus