การประเมินประสิทธิภาพการฝึกงานของนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

บุญเลิศ จันทร์ไสย์, พรรณี เจริญธนวิธ

Abstract


การวิจัย การประเมินประสิทธิภาพการฝึกงานของนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อประเมินประสิทธิภาพการฝึกงานของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ตามความเห็นของนักศึกษาประเมินตนเอง ผู้ประกอบการประเมิน และอาจารย์นิเทศประเมิน 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมินการฝึกงานของนักศึกษา ตามความเห็นของนักศึกษาประเมินตนเอง ผู้ประกอบการประเมิน และอาจารย์นิเทศ ในทักษะด้านความรู้ทางวิชาการทักษะด้านการปฏิบัติงาน และทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ทั่วไป ของนักศึกษาที่มีเพศต่างกัน 3) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมินการฝึกงานของนักศึกษา ตามประเภทของสถานประกอบการที่ต่างกัน และสาขาวิชาต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ นักศึกษาประเมินตนเอง จำนวน 104 คน ผู้ประกอบการประเมินนักศึกษา 442 คน และอาจารย์นิเทศ 12 คน โดยผู้วิจัยได้กำหนดเนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย 3 ด้าน ได้แก่ ทักษะด้านความรู้ทางวิชาการของนักศึกษา ทักษะด้านการปฏิบัติงานของนักศึกษา ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ทั่วไปของนักศึกษา วิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS PC+ for windows หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ทดสอบค่าที-เทส (t-test) ทดสอบค่าเอฟ (F-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way Analysis of Variance (ANOVA) ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้

1. ผู้ประกอบการประเมินนักศึกษาคณะ พบว่า เป็นนักศึกษาเพศหญิง ร้อยละ 57.7 เป็นเพศชาย ร้อยละ 41.9 ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร ร้อยละ 31.9 รองลงมาเป็นนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ ร้อยละ 20.1 และฝึกงานในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 45.5 รองลงมาฝึกงานในหน่วยงานเอกชน/บริษัท ร้อยละ 44.3 และฝึกงานในหน่วยงานราชการ ร้อยละ 8.4

2. นักศึกษาที่ประเมินตนเอง มีความเห็นเกี่ยวกับการฝึกงานของนักศึกษา ในทักษะด้านความรู้ทางวิชาการ ทักษะด้านการปฏิบัติงาน และทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ ในภาพรวม มีความเห็นอยู่ในระดับปานกลาง

3. ผู้ประกอบการ มีความเห็นเกี่ยวกับการฝึกงานของนักศึกษา ในทักษะด้านความรู้ทางวิชาการ ทักษะด้านการปฏิบัติงาน และทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ทั่วไปในภาพรวม มีความเห็นอยู่ในระดับปานกลาง

4. อาจารย์นิเทศ มีความเห็นเกี่ยวกับการฝึกงานของนักศึกษา ในทักษะด้านด้านความรู้ทางวิชาการ ทักษะด้านการปฏิบัติงาน และทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ทั่วไปในภาพรวม มีความเห็นอยู่ในระดับปานกลาง

5. นักศึกษาประเมินตนเอง มีความเห็นเกี่ยวกับการประเมินการฝึกงานของตนเอง ที่มีเพศต่างกัน ในทักษะด้านความรู้ทางวิชาการ ทักษะด้านการปฏิบัติงาน และทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ทั่วไป ในภาพรวมและรายข้อ พบว่า มีความเห็นไม่แตกต่างกัน

6. ผู้ประกอบการที่ประเมินนักศึกษามีความเห็นเกี่ยวกับฝึกงานของนักศึกษา ที่มีเพศต่างกัน ในทักษะด้านความรู้ทางวิชาการ ทักษะด้านการปฏิบัติงาน และทักษะด้านนุษยสัมพันธ์ทั่วไปในภาพรวมและรายข้อ พบว่า มีความเห็นไม่แตกต่างกัน

7. ผู้ประกอบการที่ประเมินนักศึกษามีความเห็นเกี่ยวกับฝึกงานของนักศึกษา จำแนกตามหน่วยงาน/สถานที่ฝึกงาน ในทักษะด้านความรู้ทางวิชาการ ทักษะด้านการปฏิบัติงานทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ทั่วไป ในภาพรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณา รายข้อ พบว่า มีรายการที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และที่ระดับ .01

8. ผู้ประกอบการที่ประเมินนักศึกษามีความเห็นเกี่ยวกับฝึกงานของนักศึกษา จำแนกตามสาขาวิชาของนักศึกษา ในด้านทักษะความรู้ทางวิชาการ ในภาพรวมไม่มีความแตกต่างกัน และเมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า มีรายการที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ในด้านการปฏิบัติงานจำแนกตามสาขาวิชาของนักศึกษา ในภาพรวม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า มีรายการที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และที่ระดับ .01 และในทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ทั่วไป ในภาพรวมพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01และเมื่อพิจารณารายข้อพบว่า มีรายการที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และที่ระดับ .01


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus