Ubiquitous Learning อัจฉริยะแห่งการล่วงรู้บริบท
Abstract
หากย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีที่แล้วในแวดวงนักการศึกษาไม่มีใครที่ไม่รู้จักการเรียนการสอนทางไกล (Distance Learning) ซึ่งเป็นการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สามารถลดข้อจำกัดเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างผู้เรียนในด้านเวลาเรียนและสถานที่เรียน ต่อมาเมื่ออินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้คนโดยเพิ่มช่องทางด้านการติดต่อสื่อสาร การค้นคว้าข้อมูลความรู้ รวมถึงใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านการเรียนการสอนโดยนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ เริ่มจากการเรียนการสอนแบบใช้เว็บเป็นฐาน (Web-Based Instruction) ต่อมาพัฒนาเป็น e-Learning และพัฒนาต่อมาอีกจนกลายเป็น M-Learning ในขณะนี้เทคโนโลยีการเรียนการสอนได้พัฒนามาถึงยุคของ Ubiquitous Learning หรือ U-Learning ซึ่งสามารถเรียกได้ว่าเป็นอัจฉริยะแห่งเทคโนโลยีการเรียนการสอนก็ว่าได้
Ubiquitous เป็นภาษาลาติน หมายถึง มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง หากพูดถึง Ubiquitous Learning ก็หมายถึง การเรียนการสอนในทุกหนทุกแห่งทุกๆที่ (Everywhere) และ ทุกๆเวลา (Every time) ซึ่ง Mark Weiser [1] แห่งศูนย์วิจัย Palo Alto ของบริษัท Xerox ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เสนอบทความ เรื่อง "The Computer for the 21st Century" โดย ให้คำจำกัดความของ Ubiquitous Computing ไว้ว่า หมายถึงการผสานทั้งด้านคอมพิวเตอร์และด้านกายภาพของโลกอย่างกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ประเภท Desktop PC, Notebook Computer, PDA, Mobile Phone และอื่นๆมาผสาน ใช้งานร่วมกัน ซึ่งจะทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศได้ทุกหนทุกแห่งและทุกเวลา โดยการเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus