การเปรียบเทียบผลการเรียน เรื่อง ดาราศาสตร์และอวกาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการเรียนรู้ โดยใช้โปรแกรมบทเรียนแบบจำลองสถานการณ์กับการเรียนแบบปกติ

บุญถม คำพิพจน์, สุทธิพงศ์ หกสุวรรณ, ปัญญา นาแพงหมื่น

Abstract


โปรแกรมบทเรียนเป็นรูปแบบหนึ่งของระบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเน้นให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ด้วยตนเอง ตามความสามารถและความสนใจ โดยอาศัยอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการนำเสนอโปรแกรมบทเรียนเพื่อการเรียนการสอน การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาโปรแกรมบทเรียนแบบจำลองสถานการณ์ เรื่อง ดาราศาสตร์และอวกาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของโปรแกรมบทเรียนแบบจำลองสถานการณ์ เรื่อง ดาราศาสตร์และอวกาศที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนรู้ด้วยโปรแกรมบทเรียนแบบจำลองสถานการณ์และการเรียนแบบปกติ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนที่เรียนรู้ด้วยโปรแกรม บทเรียนแบบจำลองสถานการณ์กับการเรียนแบบปกติ และเพื่อเปรียบเทียบเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนแบบจำลองสถานการณ์ กับการเรียนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านปอพานหนองโน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 2 ห้อง จำนวนนักเรียน 56 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบสุ่มกลุ่ม (Cluster Random Sampling) กลุ่มที่ 1 กลุ่มทดลอง เป็นกลุ่มที่เรียนโดยใช้โปรแกรมบทเรียนแบบจำลองสถานการณ์ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนบ้านปอพานหนองโน จำนวน 28 คน กลุ่มที่ 2 กลุ่มควบคุมเป็นกลุ่มที่เรียนรู้แบบปกติ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนบ้านปอพานหนองโน จำนวน 28 คน เรียนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ โปรแกรมบทเรียนแบบจำลองสถานการณ์ เรื่อง ดาราศาสตร์และอวกาศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 5 หน่วยการเรียน จำนวน 8 แผน ใช้เวลาเรียน 16 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 45 ข้อ แบบทดสอบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์ แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 32 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานใช้ t-test (dependent Sample) และ t-test (Independent Samples)

ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. ผลการเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนแบบจำลองสถานการณ์ เรื่อง ดาราศาสตร์และอวกาศมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.01/84.76

2. นักเรียนที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนแบบจำลองสถานการณ์ มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6089 นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนสูงขึ้น ร้อยละ 60.89

3. นักเรียนที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนแบบจำลองสถานการณ์ และเรียนแบบปกติมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. นักเรียนที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนแบบจำลองสถานการณ์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5. นักเรียนที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนแบบจำลองสถานการณ์ มีเจตคติทางวิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05

โดยสรุป โปรแกรมบทเรียนแบบจำลองสถานการณ์ เรื่อง ดาราศาสตร์และอวกาศมีประสิทธิภาพเหมาะสม ทำให้นักเรียนที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนแบบจำลองสถานการณ์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์ที่ดี สูงกว่าการเรียนแบบปกติ จึงควรสนับสนุนและส่งเสริมให้ครูผู้สอนนำไปใช้ในการเรียนการสอน


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus