สมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก สังกัดกระทรวงสาธารณสุข

เมทณี ระดาบุตร, โสภาพันธ์ สอาด, สุวลี มิลินทางกูร, สายหยุด พิลึก

Abstract


การวิจัยเรื่อง สมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก สังกัดกระทรวงสาธารณสุข และศึกษาปัญหาอุปสรรคด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ประชากรคือ นักศึกษาพยาบาล หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต พ.ศ.2545 จาก วิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข และกลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาล หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต พ.ศ.2545 ชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 3 จาก วิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 283 คน ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ร้อยละ 48.41 นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ร้อยละ 51.59 ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชาย ร้อยละ 12.72 และเพศหญิง ร้อยละ 87.28 มีช่วงอายุระหว่าง 20-24 ปี ร้อยละ 74.20 และประสบการณ์การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ 3-4 ปี ร้อยละ 57.60 ด้านการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการใช้บริการอินเทอร์เน็ต ของนักศึกษาแยกตามชั้นปี พบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีการใช้บริการอินเทอร์เน็ต ในการสืบค้นข้อมูล มากที่สุดและนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มีการใช้บริการอินเทอร์เน็ตในการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) มากที่สุด การใช้ Web site เพื่อสืบค้นข้อมูลเป็นประจำของนักศึกษาแยกตามชั้นปี พบว่า นักศึกษาทั้งชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 3 ใช้บริการใน URL : www.google.com มากที่สุด ใช้ระยะเวลาในการใช้อินเตอร์เน็ต 3-4 ชั่วโมง ช่วงเวลาที่ใช้งาน พบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ใช้งานคอมพิวเตอร์ในช่วงเวลา 16.00-18.00 น. และนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ใช้งานคอมพิวเตอร์ในช่วงเวลา 19.00-21.00 น. ระดับความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์เฉพาะโปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft Windows , Microsoft Word และ Microsoft Power point มีระดับความสามารถในการใช้โดยรวมระดับมาก โปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft Excel และ Microsoft Access มีทักษะระดับปานกลาง ระดับความสามารถในการใช้งานอินเทอร์เน็ตโดยรวมมีทักษะในระดับมาก ผลการวัดความรู้ความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์ พบว่านักศึกษา มีค่าคะแนนเฉลี่ย เรื่องความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ความรู้เรื่องระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีค่าคะแนนเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด ความรู้ด้านHardware อยู่ในระดับน้อย และความสามารถ เกี่ยวกับ hardware อยู่ในระดับปานกลาง ด้านเจตคติด้านการยอมรับประโยชน์ต่อคอมพิวเตอร์พบว่า อยู่ในระดับดีมาก โอกาสการใช้งานคอมพิวเตอร์ พบว่า อยู่ในระดับดี และความชอบที่มีต่อคอมพิวเตอร์ อยู่ในระดับดีมาก ปัญหาอุปสรรคในการใช้งานคอมพิวเตอร์ คือความพร้อม ปริมาณของอุปกรณ์และศักยภาพการใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ทำงานล้าช้าไม่สะดวกรวดเร็ว รวมทั้งควรมีระบบการควบคุมการใช้บริการอินเทอร์เน็ตที่ไม่เหมาะสม


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus