ทุนและพื้นที่: ศึกษากรณีการก่อตัวของกลุ่มสักยันต์ห้าแถวหนุนดวงในกรุงเทพมหานคร

วรรณนิภา ชวนชม, บุญยง ชื่นสุวิมล, นิติ ภวัครพันธ์ุ

Abstract


การศึกษาเรื่องทุนและพื้นที่: ศึกษากรณีการก่อตัวของกลุ่มสักยันต์ห้าแถวหนุนดวงในกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสังเกตการณ์และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ที่มีรอยสักยันต์ห้าแถวหนุนดวง รวมถึงการศึกษาเอกสารต่างๆในด้านประวัติศาสตร์ความเป็นมาและความเชื่อ รวมถึงความหมายของการสักยันต์ในอดีตของประเทศไทย โดยใช้แนวคิดในการศึกษาได้แก่ เรื่องกลุ่ม (Group) และแนวคิดเรื่องทุน (Capital) และพื้นที่ (Field) ของPierre Bourdieu

จากการศึกษาพบว่าการสักยันต์ห้าแถวหนุนดวงนั้นสามารถสะท้อนถึงความเชื่อของผู้ศรัทธาที่มีต่อการสักยันต์ ได้แก่ เพื่อความมั่นคงก้าวหน้าในอาชีพการงานและกิจการ, ป้องกันภัยอันตรายจากการเดินทาง, เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ, และเพื่อความสวยงาม ทั้งนี้จากการทำความเข้าใจในความหมายเหล่านี้สามารถสะท้อนให้เห็นถึงสภาวการณ์ดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคมสมัยใหม่ อันเนื่องจากการที่มนุษย์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในโลกของทุนนิยมการประกอบอาชีพหรือการดำเนินชีวิตที่ไม่มั่นคงในด้านต่างๆ ส่งผลทำให้รอยสักกลายเป็นสิ่งศักด์ิสิทธ์ิที่มีส่วนสร้างความมั่นใจต่อการดำเนินชีวิต ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าจากความเชื่อดังกล่าวนั้นจึงถูกทำให้ทันสมัยและสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตตามไปด้วยส่งผลให้ความเชื่อและความหมายรอยสักในปัจจุบันกลายเป็นทั้งความศักดิ์สิทธิ์และความสวยงาม ซึ่งสามารถสะท้อนให้เห็นทุนทางวัฒนธรรมและทุนทางสังคมที่เกิดจากความเชื่อสู่การสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคมของคนหลากหลายกลุ่มจนก่อตัวเป็นกลุ่มสักยันต์ห้าแถวหนุนดวง

คำสำคัญ : กลุ่มสังคม ทุน พื้นที่ ยันต์ห้าแถวหนุนดวง รอยสัก


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus