การศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารหน่วยงาน สังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมินภาวะผู้นำตลอดจนอำนาจการควบคุมสถานการณ์ภายในหน่วยงานของผู้บริหารหน่วยงาน สังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล และเปรียบเทียบภาวะผู้นำและอำนาจการควบคุมสถานการณ์ ของผู้บริหารหน่วยงานตามตัวแปรเพศ และประสบการณ์ด้านการบริหาร รวมทั้งศึกษาประสิทธิผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารดังกล่าว กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คณบดีคณะต่างๆ ผู้อำนวยการ สถาบัน / สำนัก และหัวหน้าภาควิชา จำนวน 123 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบประเมินภาวะผู้นำและแบบประเมินอำนาจการควบคุมสถานการณ์ของ Fred Fiedler (The Contingency Model of Leadership Effectiveness) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t-test โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารหน่วยงานสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล ส่วนใหญ่เป็นผู้นำแบบเน้น
ความสัมพันธ์ (Relationship - Oriented) และมีอำนาจการควบคุมสถานการณ์ (Situational Control) ในระดับสูง เมื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำและอำนาจการควบคุมสถานการณ์ ของผู้บริหารตามตัวแปร เพศ และประสบการณ์ด้านการบริหาร ปรากฏว่าไม่มีความแตกต่างใด ๆ นอกจากนั้น ยังพบว่าผู้บริหารหน่วยงานประมาณครึ่งหนึ่งมีโอกาส เข้ารับการฝึกอบรมด้านการบริหารเพื่อพัฒนาการทำงานในระดับปานกลาง อย่างไรก็ดี จากผลการวิจัย ดังกล่าว อาจสรุปได้ว่า ผู้บริหารหน่วยงานมีประสิทธิผลในการปฏิบัติงานที่ค่อนข้างต่ำ เนื่องจากมีภาวะผู้นำที่ไม่สอดคล้องกับอำนาจ การควบคุมสถานการณ์ภายในหน่วยงานตามทฤษฎีของ Fiedler ที่เชื่อว่า ผู้นำแบบเน้นความสัมพันธ์จะมีประสิทธิผลเมื่อมีอำนาจการควบคุมสถานการณ์ในระดับปานกลาง จากประเด็นดังกล่าว ผู้บริหารหน่วยงานควรจะได้ปรับเปลี่ยนสถานการณ์การนำเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะผู้นำของตน ซึ่งอาจกระทำได้โดยการฝึกอบรม
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus