วัดไทยบนแหลมมลายูกับการสร้างพื้นที่พหุวัฒนธรรม

ปัญญา เทพสิงห์, ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร

Abstract


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างพื้นที่พหุวัฒนธรรมของวัดไทยบนแหลมมลายู โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากเอกสารและภาคสนาม โดยการสังเกตและสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มเป้าหมาย คือ พระสงฆ์ คณะกรรมการวัด ชาวบ้าน นักท่องเที่ยว จำนวน 26 คน นำข้อมูลมาตรวจสอบความน่าเชื่อถือแบบสามเส้าด้านข้อมูล และวิเคราะห์สร้างบทสรุปแบบวิเคราะห์พรรณนา

ผลการศึกษาพบว่า การสร้างพื้นที่พหุวัฒนธรรมมี 4 ลักษณะ คือ 1) การส่งเสริมวัดไทยเป็นที่พึ่งทางใจของทุกกลุ่มชาติพันธุ์ที่เลื่อมใสศรัทธา ตั้งรูปบูชาตามความนิยม เปิดพื้นที่คนเชื้อสายต่างๆ สร้างวัตถุสนองความเชื่อทั้งโลกนี้โลกหน้า 2) ทำวัดไทยให้เป็นแหล่งเครื่องรางของขลัง จูงใจให้กลุ่มต่างๆ เข้าวัดสร้างปัจจัยแก่พระสงฆ์ 3) เปิดโอกาสเข้ามาจัดการด้านปูชนียสถานและวัตถุในวัดไทยให้กลุ่มต่างๆ มีส่วนดำเนินการ เช่น งานบริการ งานสาธารณูปโภค งานจัดระบบ งานสร้างหรือปรับปรุง 4) ทำวัดไทยให้เป็นศูนย์ท่องเที่ยววัฒนธรรมไทย วัดไทยกลายเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมไทย นักท่องเที่ยวชาติต่างๆ ที่เยือนแหลมมลายูและสนใจวัฒนธรรมไทยนิยมเที่ยววัดไทย ผลการศึกษายังพบว่า การสร้างพื้นที่พหุวัฒนธรรมของวัดไทยนอกเขตประเทศไทยวัฒนธรรมไทยมีพลังน้อย อัตลักษณ์วัฒนธรรมถูกลดทอนในลักษณะการนำศิลปวัฒนธรรมอื่นๆ มาผสมผสาน โดยเฉพาะจีน สำหรับวัดในเขตประเทศไทย การแสดงออกทางวัฒนธรรมไทยยังแจ่มชัดจากการควบคุมของรัฐไทย การสร้างสังคมพหุวัฒนธรรมของวัดบนแหลมมลายูนอกเขตประเทศไทยใช้ฐานบริโภคเชิงวัตถุหรือพุทธพานิชย์ไม่น้อยกว่าวัดในประเทศไทย จึงทำให้กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เข้ามามีบทบาทโดยง่าย

คำสำคัญ: วัดไทย, การสร้าง, พหุวัฒนธรรม, แหลมมลายู

 

The purpose of this qualitative study was to investigate creation of multicultural spaces by Thai Buddhist temples. Data were collected from related documents and from the field through observation and in-depth interview with 26 informants consisting of Buddhist monks, members of temple committees, local people, and tourists. Data reliability was tested using triangulation, and analyzed and concluded using analytical description.

The study found that multicultural spaces were created in the following aspects, 1) promoting Thai temples as spiritual anchors for all races who had faith in them, setting well-received altars, opening spaces for people of various races, making objects responding to this world and the next, 2) making Thai temples into sources of amulets attracting people to visit the temples and make donations, 3) opening opportunities for groups of people to manage the shrines and objects in Thai temples such as managing services, public utilities, work systems, building or renovation works.  4) making Thai temples cultural tourist destinations, a representation of Thai culture for tourists from many countries visiting the Malay Peninsula and interested in Thai culture to also make visits to Thai temples. Additionally, it was found that Thai temples outside Thailand and outside Thai culture did not have much power to create multicultural spaces. Thai cultural identities had been reduced by other cultures, especially Chinese, that had been brought into Thai temples.  However, Thai temples in Thailand still had clear expressions of Thai culture as a result of being controlled by the Thai state.  Because creation of multicultural society by Thai temples outside Thailand was found to be based more on objects or commerce than those in Thailand, it was easy for other races to come in and to have roles to play.

Keywords: Thai temples, creation, multicultural, Malay Peninsula


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2020.20

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus