ผลของการเรียนการสอนสังคมศึกษาบนฐานทฤษฎีพุทธิพิสัยของบลูมฉบับปรับปรุงที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

วรุตม์ อินทฤทธิ์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคะแนนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ระหว่างก่อนและหลังการเรียนการสอนสังคมศึกษาบนฐานทฤษฎีพุทธิพิสัยของบลูมฉบับปรับปรุง 2) เพื่อทดสอบคะแนนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยการทดลองแบบสี่กลุ่มของโซโลมอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม และกลุ่มควบคุม 2 กลุ่ม กลุ่มละ 29 คน ทดลองใช้เวลาทั้งสิ้น 9 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบทดสอบ Cornell Critical Thinking Test, Level X มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.71 แบบทดสอบความสามารถในการคิดสร้างสรรค์คู่ขนาน 2 ฉบับ ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.731 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการเรียนการสอนสังคมศึกษาบนฐานทฤษฎีพุทธิพิสัยของบลูมฉบับปรับปรุง วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้การวิเคราะห์ตัวแปรแบบทางเดียว วิเคราะห์เปรียบเทียบภายหลังโดยใช้วิธีการของ Tukey ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนความคิดอย่างมีวิจารณญาณและความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการทดลองแบบสี่กลุ่มโซโลมอนด้านความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความคิดสร้างสรรค์ พบว่า 2.1) คะแนนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2.2) คะแนนความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ 1 สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2.3) คะแนนความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ 2 ไม่แตกต่างกันกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

คำสำคัญ: การเรียนการสอนสังคมศึกษา, ทฤษฎีพุทธิพิสัยของบลูมฉบับปรับปรุง, คิดอย่างมีวิจารณญาณ, คิดสร้างสรรค์, การทดลองแบบสี่กลุ่มโซโลมอน

 

The purposes of this research were to 1) study the critical thinking and creative thinking abilities scores of upper-secondary school students between before and after participating in Social Studies instruction based on Bloom’s Revised Taxonomy program 2) test critical thinking and creative thinking abilities of upper-secondary school students who were in experimental and controlled groups: A Solomon four-group experimental designs. The participants were tenth grade students at Phuketwittayalai School who were separated into two experimental groups and two controlled groups. 29 participants for each group. The program had been conducted for 9 weeks. The research instruments were the Cornell Critical Thinking Test, Level X with the reliability at 0.71, the paralleled creative thinking abilities tests with the reliability at 0.731. The experimental instrument was the Social Studies instruction based on Bloom’s Revised Taxonomy lesson plans. The data were analyzed by one-way ANOWA with Tukey’s method in post-hoc analysis. The research results were as follows 1) the critical thinking and creative thinking abilities scores of experimental groups’ students had higher than that before participating at 0.05 level of significance. 2) The results of a Solomon four-group experimental designs on creative and critical thinking were as follows 2.1) the critical thinking scores of experimental groups students were higher than controlled groups students at 0.05 level of significance 2.2) the creative thinking scores of the first experimental group’s students were higher than controlled groups’ students at 0.05 level of significance 2.3) the creative thinking scores of the second experimental group students were not higher than controlled groups’ students at 0.05 level of significance.

Keywords: social studies Instruction, Bloom’s revised taxonomy, critical thinking, creative thinking, a Solomon four-group experimental designs


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2019.56

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus