การเมืองการเลือกตั้งของนักการเมืองท้องถิ่นชายแดนใต้ท่ามกลางบริบทความรุนแรง

เอกรินทร์ ต่วนศิริ

Abstract


งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางการเมืองของนักการเมืองในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ท่ามกลางบริบทความรุนแรง โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย 1) เพื่อศึกษาบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นท่ามกลางบริบทความรุนแรง 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมและลักษณะการหาเสียงของนักการเมืองท้องถิ่น 3) เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่กับการเมืองการเลือกตั้งและบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระเบียบวิธีการวิจัยเป็นการศึกษาโดยอาศัยการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) โดยมีการรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (in-dept interview)  จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ (snowball sampling) ซึ่งเป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยอาศัยการแนะนำของผู้ให้สัมภาษณ์ไปเรื่อยๆ และการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งจากเอกสาร งานวิชาการ และบทความออนไลน์ที่เกี่ยวข้อง

ผลงานวิจัยภาพรวมพบว่า พฤติกรรมทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นในพื้นที่มีรูปแบบเดียวกับนักการเมืองท้องถิ่นทั่วไปในประเทศไทย กล่าวคือมีการผูกโยงกับการซื้อเสียงและเครือข่ายอุปถัมภ์ของนักการเมืองระดับชาติได้ลงสู่การเมืองระดับท้องถิ่นอย่างเหนียวแน่น

หากทว่าการเมืองในพื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเฉพาะที่อิงกับกลุ่มศาสนา และพบว่ารูปแบบการหาเสียงและพฤติกรรมการเลือกตั้งของนักการเมืองและชาวบ้านในหลายพื้นที่ก็มีพื้นที่ต่อรองทางด้านความเชื่อศาสนา

นอกจากนี้ ลักษณะเฉพาะในพื้นที่ พฤติกรรมการเลือกตั้งก็ยังคงยึดกับตัวบุคคลเป็นหลัก ประกอบกับการที่ไม่มีพรรคการเมืองใดผูกขาดการเมืองในพื้นที่ได้ และแม้ว่าความรุนแรงในช่วงการเลือกตั้งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องแต่ก็ไม่ได้มีการสอบสวนสืบสวนเพราะถูกอธิบายเหมารวมด้วยสถานการณ์ความรุนแรงระหว่างรัฐกับกลุ่มขบวนการติดอาวุธ

คำสำคัญ: นักการเมืองท้องถิ่น, สามจังหวัดชายแดนภาคใต้, ความรุนแรงในการเลือกตั้ง, การเลือกตั้งท้องถิ่น

 

This research is to study the political behaviour of politicians in local elections in the southern border provinces amid the violent context.  The objectives of the research project are 1) to study the role of local politicians in the context of violence, 2) to study behaviour and campaign characteristics of local politicians, and 3) to analyse the relationship between the unrest situation in the area, electoral politics, and the roles of local politicians in the three southern border provinces. It employs a qualitative methodology. In-dept interview method; with snowball sampling which is a sample selection by using the advice of interviewers, is used to collect data together with secondary research on academic papers and related online articles.

The research finds that the behaviors of local politicians in the three southern border provinces are similar to those of local politicians in other regions of Thailand. Local elections mostly rely on vote-buying and patronage system overseen by national-level politicians; and such system are also deep-rooted in the local politics.

However, local politics in this region is particularly adhered to religious groups. It can be seen through the political behaviour of the local politicians and people during the political canvass that spaces for dialogues and negotiations on religious-related issues emerged in several areas.

Furthermore, it is specific to this region that electoral behaviours rely highly on individuals due to the lack of monopolized power by any political parties.  Several violent incidents occurring continuously throughout electoral-related periods were left unexplained and not properly investigated because they were mostly assumed as violence between the state and armed groups.

Keywords: local politicians, southern border provinces of Thailand, electoral violence, local election


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2020.2

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus