ความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนบนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์วิชาศิลปะ เรื่อง ภาพพิมพ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ปวีณา สุวรรณศรี, สุมาลี ชัยเจริญ

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนที่เรียนด้วยสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสันติวิทยาสรรพ์ จำนวน 30 คน โดยใช้รูปแบบการวิจัยก่อนการทดลอง แบบกลุ่มเดียวทดสอบหลังเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณที่ได้จากแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์ความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน โดยวิเคราะห์โปรโตคอล สรุปตีความ และบรรยายเชิงวิเคราะห์

ผลการวิจัย 1) ความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนที่ได้จากแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ พบว่า มีค่าเฉลี่ย 15.47 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.22 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ ร้อยละ 70 2) ผลจากการสัมภาษณ์พบว่า ความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนประกอบด้วย 4 ลักษณะ ได้แก่ (1) ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดหาคำตอบได้อย่างรวดเร็วและได้ปริมาณมากในเวลา 1 นาที (2) ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดหาคำตอบได้หลายประเภท หลายทิศทาง ดัดแปลงจากสิ่งหนึ่งไปเป็นหลายสิ่งได้ หรือหาสิ่งอื่นทดแทน (3) ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดแปลกใหม่ไม่ซ้ำกันกับความคิดของคนอื่น (4) ผู้เรียนมีความสามารถคิดเพิ่มเติม ตกแต่งให้สมบูรณ์ สามารถใช้งานได้

คำสำคัญ: สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่าย, คอนสตรัคติวิสต์, ความคิดสร้างสรรค์

 

This research aimed to study creative thinking of learners the constructivist web-based learning environment to enhance creative thinking, to examine the creativity of students. Target group was 30 grade 12 students at Suntiwittayasan School. The pre-experimental design, one-shot case study was employed in this study. The quantitative data analysis was analyzed by the student creative thinking assessment form. Statistics used for data analysis were mean, standard deviation and percentages. And the student’s evaluate of creative thinking interviewing by coding the protocol to interpret and describe data analytically.

The results revealed that: 1) the learner’s creative thinking assessment showed average score=15.47, S.D.=1.22, passed 70% 2) The interview results showed 4 types of learner’s creativity as follows. (1) Students had the ability to think fast with good quantity and in 1 minute. (2) Students had the ability to think of several types of answers multi directions, adapted from one thing to many things or find something else to replace. (3) Students had the ability to exotic think and unique with other people’s ideas. (4) Students have additional ideas to make it more complete and usable.

Keywords: web-based learning environments, constructivist, creative thinking


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2019.44

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus