การบูรณาการการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดกับทักษะการคิดในการสอนสังคมศึกษาสำหรับนักเรียนประถมศึกษา

กนก จันทร์ทอง

Abstract


ครูสังคมศึกษาในระดับประถมศึกษาควรจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งประกอบด้วยทักษะ “3R” ซึ่งประกอบด้วย 1) การอ่าน 2) การเขียน และ 3) คณิตศาสตร์ และ “7C” ซึ่งประกอบด้วย 1) ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา 2) ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม 3) ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ 4) ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ 5) ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ 6) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ 7) ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้

วิธีการหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมในการจัดการเรียนรู้ในประเทศญี่ปุ่น คือ การศึกษาชั้นเรียน (lesson study) ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) การกำหนดเป้าหมายและการวางแผนการจัดการเรียนรู้ 2) การนำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้และการสังเกตการสอน และ 3) การสะท้อนผล และวิธีการแบบเปิด (open approach) ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นนำเสนอปัญหาปลายเปิด 2) ขั้นการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน 3) ขั้นอภิปรายและเปรียบเทียบแนวคิดของผู้เรียนทั้งชั้นเรียน และ 4) ขั้นสรุปโดยเชื่อมโยงแนวคิดของผู้เรียน ผู้เขียนจึงนำวิธีการดังกล่าวมาบูรณาการกับทักษะการคิดตามแนวคิดของ ทิศนา แขมมณี และคณะ ซึ่งส่งเสริมทักษะการคิด 4 ประการ คือ การคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และตั้งชื่อเทคนิคนี้ว่า “ALOT: A-Lesson study-Open approach-Thinking skills”

ผลที่ได้คือรูปแบบการบูรณาการการจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้เทคนิค ALOT สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ที่ส่งเสริมการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (student centered learning) และการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ (active learning) ตามแนวคิดของปรัชญาการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (constructivism) ซึ่งสามารถพัฒนาทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียนและการพัฒนาวิธีการจัดการเรียนรู้ของกลุ่มครูผู้สอนไปพร้อมๆ กัน

คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21, การศึกษาบทเรียน, การจัดการเรียนรู้วิธีแบบเปิด, ทักษะการคิด, การเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ, การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ, การสร้างความรู้ด้วยตนเอง, สังคมศึกษา

 

Social studies teachers at the elementary level should arrange learning for learners to acquire learning skills in the 21st century which consists of skills “3R” (Reading, wRiting and aRithmetic) and “7C” which are 1) Critical Thinking & Problem Solving, 2) Creativity & Innovation 3) Cross-Culture Understanding 4) Collaboration, Teamwork & Leadership 5) Communications, Information & Media Literacy 6) Computing & ICT literacy and 7) Career & Learning Skills.

A method that is suitable for students which is commonly used in Japan is the Lesson Study which has 3 steps: 1) setting goals and planning for learning management 2) implementing learning management plans and observing teaching and 3) Reflection, and the open approach, which consists of 4 steps: 1) posing open-ended problem 2) students’ self learning through problem solving 3) whole class discussion and comparison, and 4) summarization through connecting students’ ideas emerged in the classroom. The author has integrated this method with thinking skills according to the concept of Tissna Khammanee which promotes 4 thinking skills: Analytical thinking, synthetic thinking, creativity thinking and critical thinking. The author named the technique “ALOT: A-Lesson Study-Open
Approach-Thinking Skills”

The result is the example learning management ALOT model for social studies religion and culture for grade 5 students on sufficiency economy which enhances student centered learning, active learning on the concept of self-knowledge philosophy (Constructivism) which will develop the thinking skills of the 21st century of students and developing teachers’ learning management along with students.

Keywords: learning management in the 21st century, lesson study, open approach, thinking skills, student centered learning, active learning, constructivism, social studies


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2019.59

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus