สภาพการดำเนินงานและแนวทางการพัฒนาการสอนงานของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

วันซาวีลา เบ็ญลาเตะ, เรชา ชูสุวรรณ, เอกรินทร์ สังข์ทอง, นิเลาะ แวอุเซ็ง

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการสอนงานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบการสอนงานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขอบเขตของการวิจัยผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 15 โรงเรียน จำนวน 15 คน และครูจำนวน 15 คน รวมทั้งหมด จำนวน 30 คน ซึ่งปฏิบัติงานในโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดปัตตานี นราธิวาส และยะลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเลือกแบบเจาะจง วิธีเก็บข้อมูลใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารจัดการระบบการสอนงาน มี 2 ด้าน คือ (1) ด้านทรัพยากรบุคคล มี ผู้บริหารและหัวหน้างานต่างๆ เป็นผู้สอนงาน และครูผู้สอนเป็นผู้รับการสอนงาน (2) ด้านกระบวนการสอนงานในสถานศึกษา คือ สร้างความเข้าใจกรอบการทำงาน ขั้นตอนวิธีการ สร้างเทคนิคการทำงาน การติดตามตรวจสอบงาน ระดมความคิด ทบทวนงาน หาปัญหาอุปสรรคและทางออกการทำงาน ชี้แนะงานโดยใช้ระบบพี่เลี้ยง 2) แนวทางการพัฒนาระบบการสอนงานของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มี 2 ด้าน คือ (1) ด้านทรัพยากรบุคคล คือ ควรส่งเสริมให้ผู้บริหารสถานศึกษามีความรู้ ความสามารถในการสอนงาน มีความจริงจัง จริงใจในการสอนงาน ผู้บริหารสถานศึกษามีภาวะผู้นำด้านวิชาการ ผู้บริหารสอนงานโดยพยายามให้ครูผู้สอนเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยผู้บริหารกระตุ้นสม่ำเสมอ สอนงานโดยพาไปดูตัวอย่างหลายๆ สถานที่ จำนวนครั้งในการนิเทศของผู้บริหาร ด้วยรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง การเป็นแบบอย่างที่ดี ทำให้ดู สอนให้เห็น ควรส่งเสริมให้ครูผู้สอน หัวหน้าฝ่ายงานทั้ง 4 ฝ่ายงานได้รับการฝึกอบรมด้านความรู้และเทคนิคการสอนงานด้วยระบบพี่เลี้ยง (2) ด้านกระบวนการสอนงานของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ผู้บริหารต้องใช้การบริหารแบบบูรณาการ สอนงานแบบกัลยาณมิตร การสร้างเครือข่ายการพัฒนาตนเอง การใช้เทคนิคการสอนแนะ ส่งเสริมให้บุคลากรได้รับการฝึกอบรมและการสอนงานโดยใช้ระบบพี่เลี้ยงในสถานศึกษา สรุปผลการวิจัยได้ว่าสภาพปัจจุบันในการสอนงานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มุมมองด้านทรัพยากรบุคคล โดยส่วนใหญ่ทางโรงเรียนมีการแต่งตั้งคำสั่งผู้รับผิดชอบ 4 ฝ่ายงาน คือ งานวิชาการ งานบริหารงานทั่วไป งานบุคคล และงานงบประมาณ ซึ่งทั้ง 4 ฝ่ายงานนี้มีหัวหน้างานซึ่งทำหน้าที่สอนงานในสถานศึกษาและรับการสอนงานจากผู้บริหารสถานศึกษา ทั้งนี้กระบวนการสอนงานมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของครูผู้สอนเพื่อให้ครูผู้สอนมีพัฒนาการของความรู้ ทักษะความสามารถเฉพาะตัว เน้นการทำงานร่วมกันเป็นทีมให้มากที่สุด ใช้กระบวนการชี้แนะงานโดยใช้ระบบพี่เลี้ยง และแนวทางการพัฒนาการสอนงานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม พยายามให้ครูพัฒนาตนเองโดยผู้บริหารสถานศึกษากระตุ้นสม่ำเสมอ นิเทศครูบ่อยๆ ด้วยรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ใช้หลักการมีส่วนร่วมของคณะครูเป็นหลักใช้แบบกัลยาณมิตร ใช้หลักการตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เน้นมีพฤติกรรมเชิงบวก เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การสร้างขวัญกำลังใจ มนุษยสัมพันธ์ช่วยในการสร้างเครือข่ายในการพัฒนาตนเอง

คำสำคัญ: ระบบการสอนงาน, สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, จังหวัดชายแดนภาคใต้

 

This research aimed at investigating the coaching conditions of the schools in three southern border provinces and finding out coaching system development guidelines of the schools in three southern border provinces. The important data was given by 15 school administrators from 15 schools and 15 teachers who were specifically chosen from coaching teachers in each school. The data was collected by in-depth interviews based on semi-structured interview and analyzed by the method of content analysis.

It was found that coaching system management conditions consisted of 2 aspects. The first aspect was human resource. The administrators and the heads of departments were coaches and the teachers were coaches. The second aspect was coaching process in the schools, namely creating understanding in framework and procedure, creating working techniques, following and examining tasks, brainstorming, revising tasks, finding problems or obstacles and solving them for working, advising how to work based on mentoring system. Furthermore, there were 2 ways of coaching system development guidelines of the schools in three southern border provinces. For human resource, the school administrators should be encouraged to have knowledge, have coaching competence, and be serious and sincere in coaching. The school administrators had academic leadership. They coached the teachers by trying to let the teachers learn by themselves and urged them regularly. The school administrators coached the teachers by taking them to different places to see examples. They often supervised with many patterns continuously. They behaved as a good model, doing and teaching clearly. The teachers and the heads of 4 departments should be encouraged to have training about knowledge and coaching techniques based on mentoring system. For coaching process of the schools in three southern border provinces, the school administrators had to use integrated administration, coach as a true friend, build one’s self development network, use advising techniques, encourage staffs to get trained and coached by mentoring system in the schools. The result of this research showed that the coaching conditions and perspective on the human resource in many schools have mainly appointed person in charge into 4 departments which of the following are academic department, general administration subdivision, personnel department and budget department. The heads of 4 departments have responsibilities to teach students and receive training from administrators. In order that, teachers will enhance their teaching competency, knowledge development, unique ability, and team work skill by using mentoring system and coaching system development guidelines. Moreover, the administers should stimulate teachers for self-development regularly, supervise them with many patterns continuously, such as the principle of participation, workmate concept, and taking His Majesty King Bhumibol Adulyadej adviced “understand, reach out, and develop”. Besides, teacher will be able to increase their positive behaviors to be generous one and develop self-improvement network with boost morale and human relation in workplace.

Keywords: coaching system, elementary school, southern border provinces


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2020.13

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus