การจัดการความรู้ชุมชน: เกลือหวานภูมิปัญญาท้องถิ่นปัตตานี

วิรินธร อักษรนิตย์, บัณฑิต ดุลยรักษ์, พวงเล็ก วรกุล, ศุภลักษณ์ พลายแสง, ธวัชชัย ศรีเทพ

Abstract


การจัดการความรู้ชุมชน เกลือหวานภูมิปัญญาท้องถิ่นปัตตานี ศึกษาพัฒนาการผลิตเกลือ วิถีชีวิตชาวนาเกลือ รูปแบบการถ่ายทอดภูมิปัญญา และการจัดการความรู้การทำนาเกลือปัตตานี กลุ่มเป้าหมายผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้มีความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับการทำนาเกลือ ประกอบด้วย กลุ่มทำนาเกลือ 15 คน และกลุ่มอาวุโส 3 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) การทำนาเกลือปัตตานีมีพัฒนาการมายาวนาน ในยุคแรกๆ ใช้แรงงานคนเป็นหลักปัจจุบันใช้เครื่องยนต์สูบน้ำเข้านาแทนกังหันลม ชาวนาเกลือใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายไม่แตกต่างจากคนทำนาเกลือในอดีต พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน 2) รูปแบบการถ่ายทอดการทำนาเกลือมีลักษณะไม่เป็นทางการเรียนรู้ ถ่ายทอด และทำตามต่อๆ กันมาผ่านการบอกเล่าภายในครอบครัว การสังเกตปฏิบัติจริงโดยทำไปเรียนรู้ไป และ 3) การทำนาเกลือปัตตานีเป็นองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ผ่านมาไม่มีการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม ทั้งนี้การทำนาเกลือปัตตานีทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันของครอบครัว ชุมชน และสังคม ก่อให้เกิดความรัก ความมีน้ำใจ และความสามัคคีในชุมชน และเกลือปัตตานีได้ชื่อว่าเป็นเกลือหวาน ด้วยรสชาติที่กลมกล่อมแตกต่างจากเกลือแหล่งอื่นๆ แนวทางการพัฒนาควรส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาพัฒนาอาชีพทำนาเกลือ และสนับสนุนการจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่นเพื่อนำไปสู่การพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน

คำสำคัญ: การจัดการความรู้, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, การถ่ายทอดความรู้

 

The purposes of this study were to examine the development of salt production, the ways of life of salt farmers, the methods of knowledge transfer and management. The samples included 15 salt farmers and 3 seniors who involved in salt farming in Pattani. The research findings were as follows: 1) Salt farming in Pattani had long been developed and passed on for generations. In the past, human was a primary labor. But nowadays, salt farmers utilized water pumps instead of windmills. They possessed a simple way of life and helped each other as their ancestors did, 2) The wisdom was passed on orally and through observation and implementation within their family, 3) Salt farming was a local wisdom of Pattani province which enhanced cooperative learning among family members as well as strengthened love, warmth, generosity, and unity of people in the community. Pattani salt was renowned for its unique pleasant taste. However, the knowledge and the area usage were not systematically and effectively managed for the utmost benefits. Appropriate utilization of the field and local knowledge management were, therefore, required for sustainable self-reliance.

Keywords: knowledge management, local wisdom, knowledge transfer


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2019.41

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus