ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแวดล้อมของการสอนภาษาอังกฤษและการบูรณาการทักษะการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศออนไลน์ในการสอน

แพรพรรณ วรดี, ชลลดา เลาหวิริยานนท์

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแวดล้อมของการสอนภาษาอังกฤษและการบูรณาการทักษะการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศออนไลน์ในการสอนในภาพรวมและรายมิติเทคโนโลยี มิติสติปัญญา และมิติจริยธรรม และ 2) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาการบูรณาการทักษะการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศออนไลน์ ปัจจัยแวดล้อมของการสอนภาษาอังกฤษในงานวิจัยนี้ ประกอบด้วย ประสบการณ์การสอนภาษาอังกฤษ การเข้าร่วมอบรม/สัมมนาด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ วิชาภาษาอังกฤษที่สอนสื่อการเรียนการสอนที่ใช้ประจำทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์ ประเภทของโปรแกรม/สื่อออนไลน์ที่ใช้ และเหตุผลที่ใช้โปรแกรม/สื่อออนไลน์ในการสอน รูปแบบการวิจัยในการศึกษาครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) โดยวิธีการวิจัยเป็นวิจัยเชิงสำรวจ (survey) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามแบบประเมินค่า 5 ระดับ (5-point rating scale questionnaire) ซึ่งประกอบด้วย 3 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 คือ ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 คือ คำถามปลายปิดจำนวน 40 ข้อ (มิติเทคโนโลยีจำนวน 14 ข้อ มิติสติปัญญาจำนวน 19 ข้อ และมิติจริยธรรมจำนวน 7 ข้อ) และตอนที่ 3 คือ ความคิดเห็นเพิ่มเติม ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้สอนชาวไทยและชาวต่างประเทศจำนวน 116 คน ที่สังกัดมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในภาคใต้จำนวน 3 แห่ง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ 1) สถิติเชิงพรรณนา 2) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน 3) เมทริกซ์สหสัมพันธ์ และ 4) การทดสอบไคสแควร์ด้วยการทำตารางไขว้ โดยวิเคราะห์จากแบบสอบถามที่ได้รับคืนและมีความสมบูรณ์จำนวน 80 ชุด (ร้อยละ 68.97)

ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยแวดล้อม ได้แก่ ประสบการณ์การสอนภาษาอังกฤษ ประสบการณ์การเข้าร่วมอบรม/สัมมนา และวิชาภาษาอังกฤษที่สอนไม่มีความสัมพันธ์กับการบูรณาการทักษะการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศออนไลน์ในการสอนภาษาอังกฤษ 2) ปัจจัยแวดล้อมเกี่ยวกับเหตุผลต่างๆ ในการใช้โปรแกรม/สื่อออนไลน์ในการสอนภาษาอังกฤษของผู้สอนไม่มีความสัมพันธ์กับการบูรณาการทักษะการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศออนไลน์ในการสอน แต่ความชอบส่วนตัวในการใช้โปรแกรม/สื่อออนไลน์ของผู้สอนเป็นปัจจัยหลักเพียงอย่างเดียวที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการบูรณาการทักษะการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศออนไลน์ในการสอนภาษาอังกฤษ (r=.254*, p<0.05) และ 3) การใช้โปรแกรมและสื่อออนไลน์ประเภทต่างๆ ของผู้สอน ได้แก่ Google classroom, CNN learning resources, Edmodo, Webquest และ LMS มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในเชิงบวกกับการบูรณาการมิติด้านเทคโนโลยีเพียงด้านเดียว (r=.424**, p<0.01 และ r=.221*, p<0.05 และ r=.274**, p<0.01 และ r=.202*, p<0.05 และ r=.238*, p<0.05 ตามลำดับ) และปริมาณการใช้โปรแกรม/สื่อออนไลน์ในการสอนภาษาอังกฤษแต่ละวิชาของผู้สอนมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในเชิงบวกกับความต้องการสร้างความคุ้นเคยในการใช้โปรแกรม/สื่อออนไลน์ให้กับผู้เรียน (r=.203*, p<0.05)

คำสำคัญ: ศตวรรษที่ 21, ทักษะการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศออนไลน์, ยุคดิจิทัล, การสอนภาษาอังกฤษ

 

This research aimed to 1) investigate the levels and directions of the correlation between related factors of English teaching and an integration of online literacies in technological, cognitive, and ethical dimensions and 2) recommend the guidelines for online literacies integration. Related factors of English teaching consisted of English teachers’ English teaching experiences, English courses, seminar/workshop attendance about ICTs integration, instructional media used both printed and online, using online programs/media, and the reasons of using it. Research design was the quantitative research using survey to collect data. Research instrument was a 5-point rating scale questionnaire consisting of 3 main parts: 1) general information, 2) 40 close-ended question items: 14 for technological, 19 for cognitive and 7 for ethical dimensions, and 3) comments. The population in this study was 116 English teachers, both Thai and foreign, working for the 3 autonomous universities in Southern Thailand. Eighty questionnaires (68.97%) were returned and analyzed using descriptive statistics, matrix correlation, Chi-square (CrossTab), and Pearson moment correlation.

The findings showed that 1) related factors (i.e. English teachers’ English teaching experiences, seminar/workshop attendance, English courses, instructional media used, and using online programs/media in English teaching) had no correlation with online literacies integration 2) related factor about English teachers’ reasons of using online programs/media in their teaching had no correlation with online literacies integration while English teachers’ personal satisfaction of using online programs/media was the main factor that had a positive significant correlation with online literacies integration in English teaching (r=.254*, p<0.05) and 3) English teachers’ using online programs/media in their teaching (Google classroom, CNN learning resources, Edmodo, Webquest, and LMS) had a positive significant correlation with the integration of a technological dimension (r=.424**, p<0.01, r=.221*, p<0.05, r=.274**, p<0.01, r=.202*, p<0.05, r=.238*, p<0.05 accordingly). In addition, the amount of using online programs/media in their English teaching in each course had a positive significant correlation with making students familiar with using online program/media (r=.203*, p<0.05).

Keywords: 21st century, online literacies, digital era, English teaching


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2020.6

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus