ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการสอนของครูโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้

ศราวุธ สุวรรณวรบุญ, ธีร หฤทัยธนาสันติ์

Abstract


การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณแบบตัดขวาง (cross-sectional study) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการสอนของครูโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นกลุ่มโรงเรียนจำนวน 360 โรงเรียน ซึ่งได้มาจากการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากเกณฑ์ 1 ต่อ 10 เท่าของตัวแปรสังเกตได้ จากนั้นใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นเป็นรายเขตพื้นที่การศึกษาทั้งหมด 10 เขต ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม 2 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถามสำหรับผู้บริหารโรงเรียนและครู ซึ่งแบบสอบถามมีข้อคำถามเป็นลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และผ่านกระบวนการตรวจสอบและปรับปรุงคุณภาพของเครื่องมือโดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์อยู่ในช่วง 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นในแต่ละตัวแปรแฝงอยู่ในช่วง 0.72-0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการสอนของครูโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้มี 4 ปัจจัย ได้แก่ เจตคติที่ดีต่อวิชาชีพครู แนวคิดการสอนที่ยึดนักเรียนเป็นสำคัญ การสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานให้กับครู และภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนซึ่งปัจจัยเหล่านี้ได้มีการอภิปรายผลและนำเสนอเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

คำสำคัญ: เจตคติที่ดีต่อวิชาชีพครู, ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน, คุณภาพการสอนของครู, จังหวัดชายแดนภาคใต้

 

This research is a cross-sectional study aiming at investigating the factors affecting teaching quality of primary school teachers in the southern border provinces. The sample was the group of 360 schools determined by sample size criterion of 1 per 10 times of the observed variable. The stratified random sampling approach was afterward employed in 10 educational service areas in the southern border provinces -Pattani, Yala, Narathiwat, and Songkhla. The research instruments used to collect the data were 2 questionnaires including a questionnaire for school administrators and a questionnaire for teachers. The questionnaires contained 5 rating scales questions. They had been examined and qualified. The Index of item objective congruence (IOC) was in the range of 0.667-1.000, and the reliability in each variable was in the range of 0.721-0.891. The data was analyzed by the structural equation modeling approach. The findings showed that there were 4 significant factors having an impact on teaching quality of the primary school teachers in the southern border provinces, namely, good attitude towards teacher profession, student-based teaching concept, operational motivation creation for teachers and academic leadership of school administrators. These factors were discussed and presented as policy recommendations.

Keywords: good attitude towards teacher profession, academic leadership of school administrators, teaching quality of teachers, southern border provinces


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2019.42

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus