การคุ้มครองงานแปลงรูป (Transformative Works) ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทยและต่างประเทศ

ชมพูนุช ศิริสวัสดิ์

Abstract


บทความฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อทำการวิจัยถึงหลักการคุ้มครองงานแปลงรูป (transformative works) โดยศึกษาถึงประเด็นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ หลักเกณฑ์การพิจารณาว่างานใดเป็นงานแปลงรูป การคุ้มครองสิทธิอันเกี่ยวกับผู้สร้างสรรค์ (moral rights) จากงานแปลงรูป และหลักการใช้งานโดยธรรม (fair use) เพื่อข้อยกเว้นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ดัดแปลงงาน โดยใช้วิธีการศึกษาเปรียบเทียบจากหลักกฎหมายและแนวคำพิพากษาทั้งของศาลไทยและศาลต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อจะได้ทราบถึงประโยชน์และสภาพปัญหาของหลักการแปลงรูป และนำหลักการที่ได้เหล่านั้นมาเป็นข้อเสนอเพื่อปรับปรุงและพัฒนากฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทยต่อไป ทั้งนี้จากผลการวิจัยปรากฏผลว่าในต่างประเทศ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา และ ประเทศอังกฤษปรากฏหลักของการคุ้มครองงานแปลงรูปที่ค่อนข้างชัดเจน แต่ในส่วนของประเทศไทยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ไม่ปรากฏบทบัญญัติใดๆ ที่ให้การคุ้มครองงานแปลงรูปอย่างชัดเจน ทำให้เมื่อเปรียบเทียบกับแนวทางของต่างประเทศแล้ว หากมีบุคคลทำการแปลงรูปผลงานที่มีผู้สร้างสรรค์ไว้โดยไม่ได้ขอรับอนุญาตอาจทำให้บุคคลนั้นกลายเป็นบุคคลที่ละเมิดลิขสิทธิ์ได้ ผู้วิจัยจึงเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาไว้ 3 แนวทางด้วยกัน คือ 1) เพิ่มเติมข้อยกเว้นการดัดแปลงงานไว้ใน มาตรา 11 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ 2) เพิ่มเติมงานแปลงรูปเป็นส่วนหนึ่งของข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ ตามมาตรา 32 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ 3) จัดทำแนวปฏิบัติที่มีลักษณะเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ประกอบการพิจารณางานแปลงรูป เพื่อเป็นประโยชน์ต่อศาลในการนำมาใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาคดี

คำสำคัญ: งานแปลงรูป, งานดัดแปลง, ลิขสิทธิ์, การใช้งานโดยธรรม

 

This article is intended to conduct a study on the principles of protection of transformative works. The issues to be studied include the criteria for determining which one is a transformative work, protection of moral rights of transformative work creators and principle of fair use for exceptions to the copyright infringement of the work by modifiers. The study is done by a comparative study of the principles of law and the judgment of both Thai and foreign courts in order to know the benefits and issues regarding the transformation principle and to propose the principles obtained to improve and develop the Thai copyright law. The results show that foreign countries, in particular the United States and the United Kingdom, have the clear principles of transformative work protection, whereas, in Thailand, there is no any provision for the transformative work protection in the Copyright Act, B.E. 2537. When compared to the practices in different countries, if a person transforms a work that has been created by a creator without permission, such person is be considered that he/she violates the copyright. The researcher provides the recommended three solutions to this issue as follows: 1) Addition of exceptions for transformative works under Section 11 in the Copyright Act; 2) Addition of transformative works as part of the copyright infringement exception under Section 32 in the Copyright Act; 3) preparation of the guidelines that set the consideration criteria for transformative works so that a court can apply them for the trial.

Keywords: transformation, derivative works, copyright, fair use


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2019.31

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus